กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ตำบลรือเสาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะ

องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่การป้องกันที่ดีอีกอย่างหนึ่ง คือการฉีดวัคซีน และเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในพื้นที่
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน อำเภอรือเสาะยังคงมีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอำเภอรือเสาะ มีผู้ป่วยติดเชื้อยืนยัน จำนวน 626 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564) และมีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง (HRC : High risk contact) เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลดความรุนแรงหรือการเสียชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการกักกันตนเองหลังจากเดินทางมายังพื้นที่เสี่ยง และดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน โรคจะหยุดได้ เมื่อประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 70 มีภูมิคุ้มกัน ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะ ร่วมกับโรงพยาบาลรือเสาะ และ รพ.สต. ในพื้นที่จัดโครงการให้บริการฉีดวัคซีนเชิงรุก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก

ร้อยละของ ปชช.ในตำบลสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 9,636
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานการจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และโรงพยาบาลรือเสาะ แบบเคลื่อนที่ ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ จำนวน 150 คน x 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ จำนวน 150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับประชาชน จำนวน 650 คน x25 บาท เป็นเงิน 16,250 บาท 4.ค่าเช่าเต้นท์สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด จำนวน 10 หลังๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 5.ค่าเช่าเก้าอี้สำหรับการฉีดวัคซีน จำนวน 300 ตัวๆละ 6 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 6.ค่าไวนิล จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ตำบล สามารถเข้าถึงหรือรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่ตำบล สามารถเข้าถึงหรือรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ90


>