กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายสินธพ อินทรัตน์
สต.ท.สงพงค์ เขียวเล่ง
นายโชต ชำนิไพบูลยื

ตำบลท่าข้าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ปัจจุบัน ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 จังหวัดสงขลามีรายงานพบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 107 ราย ผู้ป่วยสะสม จำนวน 8,315 ราย กำลังรักษา จำนวน 2,827ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 5,454 ราย เสียชีวิต จำนวน 34 ราย ในส่วนของอำเภอหาดใหญ่ ข้อมูล ณ วันที่ 14กรกฎาคม 2564 มีรายงานพบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 58 ราย ผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,907 ราย กำลังรักษา จำนวน 403ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 1,493 ราย เสียชีวิต จำนวน 11 ราย ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดในลักษณะกลุ่มก้อน (Cluster) และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างอำเภอหาดใหญ่จึงได้ยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือ กลุ่มเสี่ยงสูง ผู้สัมผัสร่วมบ้าน สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วย จะต้องเข้ารับการกักตัว เฝ้าระวัง สังเกตอาการ ณ ศูนย์กักกัน เฝ้าระวัง สังเกตอาการ (Local Quarantine) เป็นระยะเวลา 14 วัน ที่ส่วนราชการจัดไว้ให้เพื่อให้การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการฯ ดังกล่าวขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่และตัดวงจรการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สู่ชุมชน
ทั้งนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามได้ดำเนินการตามบทบาทและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 (19) และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติมและหนังสือที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ด่วนที่สุด ที่ สข 0218.1/ว 303ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564เรื่อง การยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และตัดวงจรการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สู่ชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กักตัวกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใน Local Quaruntine

ชื่อกิจกรรม
กักตัวกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใน Local Quaruntine
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อจัดตั้งศูนย์กักกัน เฝ้าระวัง สังเกตอาการ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine)
2.ประสานเจ้าหน้าที่งบประมาณ เพื่อจัดหางบประมาณรองรับโครงการ 3.ประสานการทำงานร่วมกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม  เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงสูงในชุมชน  ที่จะต้องเข้ารับการกักตัว เฝ้าระวัง สังเกตอาการ เป็นระยะเวลา 14 วัน
4.ออกคำสั่งกักกันโรค ผู้ที่ต้องได้รับการกักตัวฯ ณ ศูนย์กักกัน เฝ้าระวัง สังเกตอาการ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine ที่จัดเตรียมไว้
5.นำส่งตัวกลุ่มเสี่ยง ไปยังศูนย์กักกัน เฝ้าระวัง สังเกตอาการ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine)
6.ติดตาม เฝ้าระวัง สังเกตอาการ กลุ่มเสี่ยงที่กักตัว ตลอดระยะเวลา 14 วัน  ระหว่างกักตัว หากมีอาการป่วยเข้าข่ายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แจ้งประสานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ละนำส่งโรงพยาบาลทันที่
7.ออกหนังสือรับรองผู้ที่ผ่านการ กักตัว เฝ้าระวังสังเกตอาการ ครบ 14 วัน และนำส่งกลับภูมิลำเนา
8. ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงผู้สัมผัสร่วมบ้านและที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย จะต้องเข้ารับการกักตัว เฝ้าระวัง สังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ณ ศูนย์กักกัน เฝ้าระวัง สังเกตอาการ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) จำนวน 33 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
335300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 335,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชาชนปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.สามารถป้องกันการแพร่ระบาดและตัดวงจรการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) สู่ชุมชน


>