กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ (๕)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถาการณ์การระบาดของไวรัสโควิด ๒๐๑๙ ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารสุขให้โรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-๑๙ เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนักของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ยังคงทวีความรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ทได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น บุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง ใน ๗ กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองและโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโคโรนา ๒๐๑๙ ของตำบลท่าน้ำ มีผู้ติดเชื้อจำนวน ๑๒๔ คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน ๒๒ คนและหายดีกลับบ้านแล้ว จำนวน ๑๐๑ คน ซึ่งขณะผู้มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อยังมีแนวโน้มสูงขึ่นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ ได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community lsoltion จำนวน ๕๐ เตียง และ Home lsoltion เพื่อรองรับการผู้ป่วยการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุด Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวกซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ให้ทันสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแน วทางการดำเนินการและใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ มท.๐๘๐๘.๒ / ว๔๑๑๖ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/09/2021

กำหนดเสร็จ 29/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่๑ ประชุมทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่๑ ประชุมทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๕ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๗๕๐ บาท ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ๑๕ คน x ๕๐ บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน ๗๕๐ บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร ๑ คน ๓ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ค่าชุดตรวจ ATK สำหรับสาธิต ๒ ชิ้นๆ ละ ๓๒๐ บาทเป็นเงิน ๖๔๐ บาท ค่าชุด PPE ป้องกันเชื้อไวรัส สำหรับสาธิต ๒ ชุดๆ ละ ๓๕๐ บาท เป็นเงิน ๗๐๐ บาท ประกอบด้วย ชุดเอี๊ยม PPE ราคาชุดละ ๒๕๐ บาท เสื้อกาวน์ PEราคาตัวละ ๕๐ บาท เฟสชีล ราคาอันละ ๒๕ บาท ถุงคลุมเท้าราคาคู่ละ ๒๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2564 ถึง 29 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4640.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าสเปรย์แอลกอฮอลล้างมือ จำนวน ๕ ลิตร เป็นเงิน ๕๙๐ บาท ค่าหน้ากากอนามัยจำนวน ๕ กล่องๆ ละ ๑๒๕ บาทเป็นเงิน ๖๒๕ บาท ค่าชุดตรวจ ATK จำนวน ๒๕๐ ชิ้น x ๓๒๐ บาท เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท ค่าชุด PEE ป้องกันเชื้อไวรัสจำนวน ๑๐ ชุด x ๓๕๐ บาท เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท ประกอบด้วย ชุดเอี๊ยม PPE ราคาชุดละ ๒๕๐ บาท เสื้อกาวน์ PEราคาตัวละ ๕๐ บาท เฟสชีล ราคาอันละ ๒๕ บาท ถุงคลุมเท้าราคาคู่ละ ๒๕ บาท ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน ๒ ถัง x ๑,๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๒๐๐ บาท ค่าถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน ๕ กล่อง x ๒๗๐ บาท เป็นเงิน ๑,๓๕๐ บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๒ x ๓ เมตร เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน COVID-๑๙ จำนวน ๖๐ เล่มๆ ละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ค่าวัสดุในโครงการเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายวัสดุถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2564 ถึง 29 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
95065.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,705.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน
๒.ชุมชนปลอดโรค ไม่มีระบาดเพิ่มในพื้นที่


>