กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

-

เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 กันยายน พ.ศ. 2564 และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหน

 

100.00

สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จังหวัดสงขลา พบว่า มีผู้ป่วยระรอกใหม่ยืนยันสะสม๑๙,๑๕๕ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ วันที่ ๓๑สิงหาคม 2564)สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยนั้น พบผู้ติดเชื้อสะสม ๒๑ ราย จำแนกเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร ๑๑ ราย ร้านเครื่องดื่ม ๒ ราย ส่วนราชการ ๒ ราย และผู้ประกอบการในตลาดกลางเพื่อการเกษตรเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ๖ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔)จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า ผู้ติดเชื้อในเขตเทศบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ที่สามารถรวมตัวกันของบุคคล เช่น ร้านอาหาร ตลาดสด ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างได้จึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสติดเชื้อและก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID – 19 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วน โดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุก อาศัยตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตราที่ 50 ข้อที่ 4 (ป้องกันและระงับโรคติดต่อ) และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด มท.0808.2/ว.4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ข้อที่ 2ตามที่ได้ระบุว่า เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดหาวัสดุทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มที่เสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยง
เทศบาลตำบลสะบ้าย้อยจึงได้จัดโครงการตรวจคัดกรองเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ทั้งหมด ๔ กลุ่ม ได้แก่ 1.) กลุ่มผู้ประกอบการในตลาดกลางเพื่อการเกษตรเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย2.) กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ต้องรับการตรวจครั้งสุดท้าย ก่อนครบกักตัว ๓.) กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ จากการสอบสวนโรค ๔.) กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัดและมีเหตุต้องกักตัว เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ครอบครัว ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง เป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อคัดกรองประชาชนในกลุ่มเสี่ยง๔กลุ่ม ที่เข้าเกณฑ์ได้รับการคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ และการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาล ภายหลังได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุก
3. เพื่อให้ผู้ได้รับการตรวจที่มีผลเป็นบวก หรือผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ได้รับการตรวจยืนยันในโรงพยาบาลทั้งนี้เพื่อลดการแพร่ระบาดในครอบครัวและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุดตรวจเชื้อ ATK

ชื่อกิจกรรม
1. ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุดตรวจเชื้อ ATK
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดตรวจไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) Antigen Test Kit : ATKจำนวน ๓00 ชุดๆ ละ 1๘0 บาท เป็นเงิน 5๔,000บาท เป็นเงิน ๕๔,๐๐๐ บาท
  2. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการตรวจคัดกรอง จำนวน ๒ คน x ๕ วัน วันละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID–19) โดย ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Antigen Test Kit : ATK) 2. ร้อยละ 90 ประชาชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>