กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดศูนย์พักคอยเตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม

อบต.ลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ของจังหวัดปัตตานี วันละ 200-300 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม 10,288 ราย ผู้ป่วยหายแล้ว 6,863 รายและผู้เสียชีวิต 135 ราย โดยเฉพาะตำบลลางาเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงของจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะหมู่5 บ้านปาลัส ที่เป็นแหล่งตลาด กระทรวงสาธารณสุขมีความเห็นชอบให้สถานพยาบาลและหน่วยตรวจหาเชื้อโควิด-19 ใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว (Rapid Antigen Test) โดยใช้ชุด Antigen Test เป็นอีกแนวทางในการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 เเพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจหาเชื้อในสถานการณ์ที่มีการระบาดหลายหมู่บ้านในเขตพื้นที่
การจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในชุมชนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยและลดการแพร่ระบาดในชุมชนผู้ป่วยCOVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงอาจรับการแยกกักตัวที่บ้าน (home isolation) หรือเข้ารับการแยกกักในชุมชน (community isolation) หากมีอาการรุนแรงขึ้นสามารถนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส(โควิด-19) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ด้วยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น

ร้อยละ80เปอร์เซ็น

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/09/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานกับโรงพยาบาลมายอเพื่อเป็นหน่วยบริการสาธารณสุข รับผิดชอบดูแลประชาชนในตำบลลางา ประจำศูนย์พักคอย
การกักตัวและรับการดูแลรักษาผู้ป่วยในศูนย์การคัดกรองแยกผู้ป่วย จำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ สีเขียว แยกกักตัวที่บ้าน (home isolation)หากไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ ก็ใช้ศูนย์นี้เป็นที่กักตัวแทน (community isolation) สีเหลือ แยกกักตัวที่โรงพยาบาลสนาม หรือที่บ้าน สีแดง แยกกักตัวที่โรงพยาบาลสนาม
2.การจัดตั้งศูนย์พักคอยชุมชนหรือcommunity isolation ปรับปรุงอาคารสถานที และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ 3.การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พักคอยหรือ community isolation 4.การจัดการขยะติดเชื้อในศูนย์พักคอยหรือcommunity isolation และhome isolation ค่าถุงขยะสีแดง จำนวน 40 แพ็คแพ็คละ 90 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กันยายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยตำบลลางาทุกคน สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว 2.ลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงเพื่อคนในชุมชน Community isolation

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงเพื่อคนในชุมชน Community isolation
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจคัดกรอง และค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 โดยใช้ชุด Antigen Test Kit ได้ประชาชนในชุมชนที่ได้รับการคัดกรองแล้วเป็นผลบวก ได้รับการดูแลและรักษาใช้อาคารของโรงเรียนบ้านปาลัสเพื่อกักตัวและรักษาบุคคลที่มีผลบวก 1. ค่าชุดตรวจ Antigen Test Kit จำนวน 50 ชุด ชุดละ 350 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท 2.ค่าเบี้ยเลี้ยงค่าตอบแทนอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นเงิน25,000 บาท 3.ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้รักษาความปลอดภัยและการดูแลทำความสะอาดจำนวน 2 คน วันละ300 บาท ทั้งหมด30วัน เป็นเงิน 18,000 บาท 4.ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นและภาชนะใช้ส่วนบุคคลต่อการกักตัว เป็นเงิน 8,000 บาท
5.หน้ากากอนามัย สีฟ้า กล่อง50ชิ้น จำนวน50กล่องเป็นเงิน 2,250 บาท 6.ชุดคลุมปลอดเชื้อCPE พลาสติกกันน้ำสีฟ้า 50 กล่อง กล่องละ65 บาท เป็นเงิน3,250 บาท 7.ชุดคลุมปลอดเชื้อPPE แบบหนา 20 ชุด ชุดละ199 บาท เป็นเงิน 3,980 บาท 8.ถุงมือยาง กล่อง 100 ชิ้น 10 กล่อง กล่องละ270บาท เป็นเงิน 2,700 บาท 9.ยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดศูนย์ เป็นเงิน 2,500 บาท 10.น้ำดื่มขนาดขวด จำวน250 แพ็ค แพ็คละ40 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท 11.กระดาษชำระ 290 ม้วล ม้วล ละ 8 บาท เป็นเงิน 2,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในเขตพื้นที่ตำบลลางาได้รับการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 2.ผู้ป่วยตำบลลางาทุกคนสามารถเข้าถึงบริการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
95500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) ได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น(Antigen-Test-Kit) และได้รับการดูแลรักษาผ่านโรงบาลสนามเพื่อการพักคอยเตียง Community Isolation


>