กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ตำบลกะลุวอ รอบ 3/2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด - 19 ระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่าวันละ 10,000 รายต่อวันร่วมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรัง พัทลุง สงลา ยะลาปัตตานี และนราธิวาส ที่มีความร้ายแรงไม่แพ้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศมาตรการพิเศษเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งประชาชนทั่วไปได้รับการฉีดวัคซีนไม่ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขเกิดความล้มเหลว โดยมีกลุ่มเสี่ยงจำนวนไม่น้อยที่ปกปิดการสัมผัสผู้ติดเชื้อ (timeline) ทำให้การค้นหาแหล่งของโรคมีความยุ่งยากมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับเชื้อมีโอกาสอาศัยหรือคลุกคลีกับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงเป็นหนทางในการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนได้ เพราะต้องอาศัยการลงทะเบียนในระบบที่ค่อนข้างยุ่งยาก และต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาล ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแหล่งที่อยู่ เพื่อการอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ที่ไม่สะดวกในการมารับบริการฉีดวัคซีน ณ หน่วยบริการโรงพยาบาลนราธิวาสราชณครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส นั้น กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 เชิงรุก ตำบลกะลุวอ รอบที่ 3/2564 ขึ้น ในวันที่ 15 กันยายน 2564 เพื่อรับมือและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในพื้นที่ตำบลกะลุวอ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ สามรถเข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด–19 ได้

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ เข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด–19 ได้ในพื้นที่ เข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด–19 ได้

50.00 80.00
2 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับบริการยังหน่วยบริการฉีดวัคซีนได้

จำนวนผู้เข้ารับบริการฉีดวัคซีน ร้อยละ 70

30.00 70.00
3 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลกะลุวอได้

จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ลดลง

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/09/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และทีมงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสแบบเคลื่อนที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และทีมงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสแบบเคลื่อนที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่  จำนวน172 กล่องๆละx 50 บาท เป็นเงิน 8,600  บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 172 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน   4,300   บาท
  3. ค่าเครื่องดื่มสำหรับประชาชน  จำนวน 500 คนๆละ 10 บาท  เป็นเงิน  5,000 บาท
  4. ค่าเช่าเต็นท์สำหรับการฉีดวัคซีน  จำนวน 3   หลังๆละ 600 บาท (ขนาด 4×8 เมตร)             เป็นเงิน  1,800  บาท
  5. ค่าเช่าเก้าอี้สำหรับการบริการฉีดวัคซีน  จำนวน 500 ตัวๆละ 6 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ เข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด–19 ได้ในพื้นที่ เข้าถึงการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด–19 ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>