กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง กักกัน กลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโร2019(COVID19) องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ระยะที่2)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง กักกัน กลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโร2019(COVID19) องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ระยะที่2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตันหยงลุโละ

ตำบลตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะประเทศไทย มีการระบาดในวงกว้างและมีผู้ป่วยเพิ่มเป็นจำนวนหลักหมื่นคนต่อวัน และเสียชีวิตหลักร้อย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)ของจังหวัดปัตตานี ณวันที่ 25 มิถุนายนพ.ศ.2564พบผู้ป่วยรายใหม่ 189 รายผู้ป่วยสะสม 3,510 รายเสียชีวิต24 รายสำหรับตำบลตันหยงลุโละ มีผู้ป่วย66ราย
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562)อบต.มีหน้าที่ต้องทำ มาตรา 67 (3) คือ ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
– หนังสือกระทรวงมหาดไทย มท 0808.2/1608ลงวันที่ 17 มีนาคม2563 เรื่อง ยกเว้นค่าใช้จ่ายเงินสะสมในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อ
- หนังสือกระทรวงมหาดไทย มท 0808.2/ว 1717 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท.ในการป้องกันและควบคุมโรค
- หนังสือกระทรวงมหาดไทย มท 0808.2/ว 1842 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการรักษา
- หนังสือกระทรวงมหาดไทย มท 0808.2/ว 1442ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 เรื่อง แนวทางการจัดหาอาหารในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค
- ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560
- หนังสือ คำสั่งจังหวัดปัตตานีที่ (พิเศษ) 37/2564 เรื่อง กำหนดให้พื้นที่เป็นที่เอกเทศสำหรับแยกกักหรือกักกัน สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลให้มีประชาชนเสี่ยงที่จะติดเชื้อเนื่องจากปัจจัยประชาชนเดินทางกลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน(ประเทศมาเลเซีย) หรือเดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครสร้างความกังวลให้กับบุคคลในชุมชนต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลตันหยงลุโละก็มีประชาชนที่เดินทางกลับจากประเทศมาเลเซียและจังหวัดที่มีเป็นพื้นที่เสี่ยงเป็นจำนวนมากพอสมควร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังกักกันกลุ่มสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆได้รับการกักตัว 2. เพื่อป้องกันการระบาดในพื้นที่เสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบล ตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3 เพื่อเฝ้าระวังกักกันกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวัง กักกัน กลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโร2019(COVID19) องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ระยะที่2)

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง กักกัน กลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโร2019(COVID19) องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ระยะที่2)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)             1.  ขั้นตอนวางแผน     2.  ร่วมกันประชุมวางแผน  กำหนดเป้าหมาย  วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบ วิธีการดำเนินงานโครงการ  ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินการ     3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ     4. ขั้นตอนการดำเนินงาน     - การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการกักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง     - สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง กักกันกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)  ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข     - ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค     - ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ     - สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในการนี้  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้พิจารณาและเห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ  ควรมีบทบาทแก้ปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา หรือ โควิด (COVID-19)โดยใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ของตำบล ในประเภท ๑๐(๕) เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือบรรเทาภัยพิบัติหรือโรคระบาด  จึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอใช้งบประมาณดังกล่าวมาดำเนินการกิจกรรมที่เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ประกอบด้วยกิจกรรมในลักษณะ ดังนี้ ๑.การรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง อาการและการป้องกันโรคผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ รถแห่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ด้วยภาษาที่เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อการรับรู้ในวงกว้าง การแนะนำการสวมหน้ากากอนามัย แนวปฏิบัติทางศาสนากิจในกลุ่มผู้นำศาสนา ประชาชน วัด มัสยิด เป็นต้น ๒.การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัยสำหรับประชาชน จะใช้การจัดซื้อหน้ากาก หรือการจ้างเย็บโดยผู้รับทุนจัดหาวัสดุในการทำหน้ากาก การจัดหาแอลกอฮอล์เจลล้างมือแก่หน่วยงาน สถานที่สำคัญ บ้านกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก เครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมโรค น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับพ่นควบคุมโรค เป็นต้น ๓.คัดกรองและตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง บุคคลที่เดินทางมาจากที่อื่น เช่น ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศกลุ่มเสี่ยง เดินทางกลับมาจากกรุงเทพมหานคร โดยการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและบุคคลที่เดินทางมาจากที่อื่น โดยแกนนำอสม.ลงติดตามเฝ้าระวังติดตามการกักตัว     อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) อบต.มีหน้าที่ต้องทำ มาตรา 67 (3) คือ  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
105100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 105,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)
2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลตันหยงลุโละ ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>