กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

กองสาธารณสุขฯ

สนามกีฬาประชาธรรมราษฎร์ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ระบาด ยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้เกิดอาการไข้ ไอ และสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตมีเพียง 1-3 % น้อยกว่าโรค SARS ซึ่งมีอัตราการตาย 10 % ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่ามีความจำเป็นด้วยการดำเนินมาตรการ การรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัย การไม่นำมือไปสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีชาวไทยเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และต่างหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการ คัดกรอง แยกกัก กักกัน ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีโรคติดต่อ หรือเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับการติดต่อของโรค ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท.0808.0/ว1727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0808.2/ว1992 ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 เรื่อง แนวทางการจัดหาอาหารในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.5.33/ว 229 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่องขอความร่วมมือดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2503 ข้อ 10/1 องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดจึงได้จัดทำโครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล (Local Quarantine) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคติดต่ออันตราย โดยจัดเตรียมพื้นที่กักกัน ควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด

ชื่อกิจกรรม
โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63005.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,005.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>