กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3) ประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3) ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ปะลุกาสาเมาะ

ตำบลปะลุกาสาเมาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นวงกว้างกระจายไปทั่วพื้นที่จังหวัดในประเทศไทย สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2564 พ.ศ.2564 จังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยรายใหม่ 209 ราย มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 15,532 ราย สำหรับพื้นที่อำเภอบาเจาะ มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,100 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งฯ ที่ 3518/2564 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ประกาศสถานที่ซึ่งจัดให้เป็นสถานที่กักกันในระดับท้องถิ่นเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผู้เข้ากักกันตัวสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่สำหรับกักกันเพื่อสังเกตอาการป่วยของโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการจัดการเตรียมสถานที่กักกันในระดับท้องถิ่นให้มีความพร้อมรองรับผู้กักกันให้มีความเหมาะสมและมีจำนวนเพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปยังพื้นที่ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์กักกัน (Local Quarantine) เพื่อสังเกตอาการป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามคำสั่งจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจัดการเตรียมสถานที่กักกันให้มีความพร้อมสำหรับรองรับผู้ถูกกักกัน จึงเห็นควรให้จัดโครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3) ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริหารจัดการสถานที่กักกัน และจัดหาเครื่องใช้ส่วนตัวให้แก่ผู้ถูกกักกันเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถูกกักกัน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

ร้อยละ 80 ไม่พบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

0.00
2 เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ถูกกักกันในศูนย์กักกัน (Local Quarantine)

ร้อยละ 80 ผู้ถูกกักกันในศูนย์กักกัน (Local Quarantine) มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3) ประจำปีงบประมาณ 2564

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริหารจัดการสถานที่กักกันเพื่อดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ดังรายการที่ปรากฏ 1.แปรงสีฟัน จำนวน 202 ด้ามๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 4,040 บาท 2.ยาสีฟัน ขนาด 30 กรัม จำนวน 202 หลอดๆ ละ 29 บาท เป็นเงิน 5,858 บาท 3.ยากันยุงชนิดทา ขนาด 8 มล. จำนวน 202 ซองๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 1,616 บาท 4.แป้ง ขนาด 50 กรัม จำนวน 192 กระป๋องๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท 5.ยาสระผม ขนาด 140 มล. จำนวน 192 ขวดๆ ละ 39 บาท เป็นเงิน 7,488 บาท 6.สบู่อาบน้ำ จำนวน 232 ก้อนๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 4,640 บาท 7.ผงซักฟอก ขนาด 350 กรัม จำนวน 144 ถุงๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 6,480 บาท 8.หวี จำนวน 172 อันๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 5,160 บาท 9.น้ำยาล้างจาน ขนาด 150 มล. จำนวน 192 ขวดๆ 20 บาท เป็นเงิน 3,840 บาท 10.ฟองน้ำล้างจานพร้อมใยขัด จำนวน 202 อันๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 4,040 บาท 11.กระดาษชำระ จำนวน 232 ม้วนๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 3,480 บาท 12.ถุงแดง ขนาด 1226 นิ้ว จำนวน 65 แพ็คๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 3,575 บาท 13.ถุงหูหิ้ว ขนาด 1226 นิ้ว จำนวน 5 แพ็คๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 275 บาท 14.ถุงขยะสีแดง ขนาด 15*30 นิ้ว จำนวน 10 แพ็คๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 550 บาท 15.ขันน้ำพลาสติกจำนวน 72 ใบๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 4,680 บาท 16.แก้วน้ำพลาสติก จำนวน 72 ใบๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท 17.กระติกน้ำแข็งพลาสติก ขนาดเล็ก จำนวน 72 ใบๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท 18.จานพลาสติก จำนวน 72 ใบๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท 19.ถ้วยขนมหวานพลาสติก จำนวน 72 ใบๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท 20.ถ้วยพลาสติก จำนวน 72 ใบ ราคา 45 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท 21.ช้อน จำนวน 2 โหลๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 130 บาท 22.รองเท้าบูท จำนวน 6 คู่ๆ ละ 155 บาท เป็นเงิน 930 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศูนย์กักกัน (Local Quarantine) มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริหารจัดการสถานที่เพื่อดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนอย่างเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
74422.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,422.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้างในระดับพื้นที่ได้
2.ศูนย์กักกัน (Local Quarantine) มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ถูกกักกันอย่างเหมาะสมและเพียงพอ


>