กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ บ้านระไมล์ต้นมะขาม ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปียน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ บ้านระไมล์ต้นมะขาม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปียน

1.นายมุสตอพา เลาะดีเยาะ
2.นายบุญยามีน สะมะแอ
3.นายซุลกิฟลี หน้าหวัง
4.นายมูฮัมหมัดสับรี กาหลง
5.นายอิลมี บาซาเปียน

หมู่ที่ 7 ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เชื้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธ์ุที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่นๆ ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมจำนวน 1,020,432 ราย รักษาหายแล้ว 812,210 ราย เสียชีวิต 9,226 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2564) สำหรับ จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ จำนวน 17,858 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 14,784 ราย เสียชีวิต 100 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19)สำหรับตำบลเปียน พบผู้ติดเชื้อจำนวน 173 ราย หากจำแนกรายหมู่พบว่า ม.1 11ราย ม.2 41 ราย ม.6 17 ราย และม.7 55 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข EOC สะบ้าย้อย) จะเห็นได้ว่าพื้นที่ ม.7 บ้านระไมล์ต้นมะขามได้มีสัดส่วนของผู้ติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 31.8 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด จากการแพร่ระบาดของโรคติตต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 พื้นที่เสี่ยง หรือการอยู่บ้านเพื่อการหยุดเชื้อ การระบาดของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้อย่างรวดเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และมาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเงื่อไขเวลา และตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 67(3) บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ดังนั้นทางผู้นำชุมชนได้ตระหนักถึงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดจุดตรวจ/จัดสกัดป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดโดยการค้นหาเชิงรุกในพื้นที่บ้านระไมล์ต้นมะขาม หมู่ที่ 7 ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งนำทีมโดยผู้ใหญ่บ้านร่วมกับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)โดยมีการบูรณาการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ฯลฯ ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดคัดกรอง (ผลัดละ 14 คน) วันละ 2 ผลัด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลเปียน

 

0.00
2 เพื้อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/08/2021

กำหนดเสร็จ 20/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตั้งจัดตรวจ จัดสกัดเพื่อดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 เพื่

ชื่อกิจกรรม
การตั้งจัดตรวจ จัดสกัดเพื่อดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 เพื่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ 1.1 ค่าอาหาร จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท x 2 ผลัดๆละ 14 คน x 28 วัน (ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ถึง 20 กันยายน 2564) เป็นจำนวนเงิน = 39,200 บาท 1.2 ค่าน้ำดื่ม จำนวน 661 ขวด x 6 บาท = 3,966 บาท 1.3 แอลกอฮอล์ ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 แกลอน x 1,500 บาท = 1,500 บาท 1.4 ถุงมือเบอร์ S จำนวน 20 กล่อง x 250 บาท = 5,000 บาท 1.5 หน้ากากอนามัย จำนวน 10 กล่อง x 35 บาท = 350 บาท 1.6 เจลล้างมือ ขนาด 300 มม. จำนวน 36 ขวด  x 159 บาท = 5,724 บาท 1.7 ไฮเตอร์ ขนาด 600 มม. จำนวน 36 ขวด  x 30 บาท = 1,080 บาท 1.8 เสื้อกันฝน จำนวน 30 ตัว  x 25 บาท = 750 บาท 1.9 ถุงมือ จำนวน 10 คู่  x 125 บาท = 1,250 บาท 1.10 ไม้กวาดก้านมะพร้าว จำนวน 5 อัน  x 40 บาท = 200 บาท 1.11 ไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 5 อัน  x 39 บาท = 195 บาท 1.12 ที่โกยขยะ  จำนวน 5 อัน  x 45 บาท = 2205 บาท 1.13 แปรงขัดพื้นด้ามยาว  จำนวน 5 อัน  x 100 บาท = 500 บาท 1.14 แปรงขัดห้องน้ำ จำนวน 2 อัน  x 30 บาท = 60 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 20 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ได้มากขึ้น
2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลเปียนได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3. เกิดความร่วมมือสามัคคดีกันของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ


>