กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพาประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

สำนักเลขากองทุนฯ

เขตพื้นที่อบต.เทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพาเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
การดำเนินงานของกองทุนฯ สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้น ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการมีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนเป็นกำลังในการนำพากองทุนไปสู่การบริหารจัดการที่ดี ส่งผลให้เกิดระบบงานที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เทพา จึงจัดโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบงานกองทุน สร้างขวัญและกำลังใจแก่คณะกรรมการคณะอนุกรรมการ ตลอดจนคณะทำงานกองทุนฯและการประชาสัมพันธ์สื่อสารการดำเนินงานแก่ชุมชน/ชมรม/องค์กรต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มเด็กเล็กและก่อนวัยเรียน กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ กลุ่มประชาชนทั่วไปทีมีภาวะเสี่ยง ที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กองทุนฯมีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย

80.00 100.00
2 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กำหนด

การควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กำหนด

100.00 100.00
3 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

มีการกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปฏิบัติตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

80.00 90.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ในการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ในการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนการประชุมกรรมการ20คน x 300 บาทx5ครั้ง= 30,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ จำนวน 1 คน x200 บาท x 5 ครั้ง = 1,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม21คน x 25 บาทx5ครั้ง = 2,625บาท
  4. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายแผนงาน จำนวน5คน x 200 บาทx 2ครั้ง = 2,000 บาท
  5. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายเลขาจำนวน3คนx 200 บาทx 2 ครั้ง= 1,200 บาท
  6. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายการเงิน จำนวน 3คน x 200 บาทx 2ครั้ง = 1,200 บาท
  7. ค่าตอบแทนอนุกรรมการฝ่ายติดตาม จำนวน8คน x 200 บาทx 2ครั้ง = 3,200 บาท
  8. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการLTC จำนวน 1คน x200 บาทx 4ครั้ง = 8,000 บาท 9.ค่าอาหารว่าง ประชุมอนุกรรมการLTC จำนวน 10คน x25บาทx 4ครั้ง = 1,000 บาท
  9. ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุน 500 บาท X2 ครั้ง = 1,000 บาท
  10. ค่าเดินทางไปราชการ8,000 บาท
  11. ค่าวัสดุสำนักงาน3,275บาท
  12. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์1,000บาท รวม 63,500 บาท(ถัวเฉลี่ยทุกรายการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมจัดทำแผนกองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมจัดทำแผนกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน40คนx 25บาทx2มื้อ=2,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน40คนx 1 มื้อx 50บาท=2,000บาท 3. ค่าวิทยากรจำนวน6ชม. X 500 บาท= 3,000 บาท 4. ค่าป้ายกิจกรรม= 450บาท 5.ค่าวัสดุ=1,000 บาท รวม 8,450 บาท (ถัวเฉลี่ยทุกรายการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูการเขียนโครงการผ่าน website

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมฟื้นฟูการเขียนโครงการผ่าน website
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน20คนx 2มื้อx25บาท =
    1,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน20คนx 1 มื้อx 50 บาท=
    1,000 บาท
  3. ค่าวิทยากรจำนวน6ชม. X 500 บาท= 3,000 บาท
  4. ค่าป้ายกิจกรรม= 450บาท รวม 5,450 บาท(ถัวเฉลี่ยทุกรายการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่กองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่กองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรบรรยาย 500 บาทx 6 ชม.= 3,000บาท
  2. ค่าอาหารมื้อกลางวันและมื้อเย็นจำนวน 21คน x 3 มื้อ x 250บาท=15,750บาท 3.ค่าอาหารมื้อเช้า จำนวน 21 คน x 100 บาท = 2,100 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม21คนx 50บาทx 3มื้อ= 3,150บาท 5.ค่าจ้างเหมารถตู้ปรับอากาศ 2 คันx 2 วัน x 4,000 บาท= 16,000บาท 6.ค่าที่พัก21คนx 1 คืน x650บาท= 13,650 บาท
  3. ค่าเช่าห้องประชุม= 4,000 บาท
  4. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน 1,000 บาท 9.ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในการฝึกอบรม 2,500 บาท
  5. ค่าป้ายกิจกรรม 450 บาท รวม 61,600บาท(ถัวเฉลี่ยทุกรายการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กรรมการกองทุนมีความรู้ตามวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานกองทุน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61600.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมนำเสนอผลงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนำเสนอผลงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม40คนx25 บาท=1,000บาท    รวม 1,000 บาท (ถัวเฉลี่ยทุกรายการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 140,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มเด็กเล็กและก่อนวัยเรียน กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ กลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง ที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.มีการควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กำหนด
3.หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ได้รับการกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด
4.คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่องการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน


>