กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างเป็นระบบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

ตำบลวังใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

70.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

1,000.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

100.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

7.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

8.00
6 จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)

 

120,000.00

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้นช่วยยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญ รวมทั้งได้ดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างองค์กร สถาบันและประชาชนในระดับต่างๆของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันคนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะมูลฝอยทั่วประเทศได้มากถึง 14.4 ล้านตัน หรือ 39,240 ตันต่อวัน สถานการณ์ด้านการกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย (กรมควบคุมมลพิษ) ประกอบด้วยขยะประเภทบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ซ้ำ (Recycle) แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ขยะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ มากมายและเป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบผิวหนัง การเกิดอุบัติเหตุ จะเห็นว่าจะเป็นตัวบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลงได้ ทุกระบบของการเกิดโรคมีสาเหตุจากขยะเกือบทั้งสิ้น ขยะบางชนิดมีประโยชน์บ้างถ้ามีวิธีการนำกลับมาใช้จะได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง การกำจัดขยะ ไม่ว่าโดยวิธีใด ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในบ้านเราไม่ได้มีการแยกขยะอันตรายที่มีสารเคมีและโลหะหนักออกไปกำจัดให้ถูกต้อง ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การหาวิธีกำจัดขยะในรูปแบบต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เหมือนการระดมคนมากวาดถนนหรือใช้รถดูดฝุ่น เพราะ "กวาดเท่าไหร่ก็ไม่หมด ถ้าไม่งดทิ้งขยะ" แต่สำหรับการกำจัดขยะให้ได้ผล ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ "คน"ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะ ฉะนั้นการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับชุมชนการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น มีความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยจะต้องพิจารณาเนื้อหาและสื่อที่จะใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะนอกจากสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะเพื่อนำไปขายได้อีกด้วย ปัญหาของการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ คือ การหาที่ดินสำหรับการฝังกลบที่หาได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งการจัดการฝังกลบก็ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เกิดสภาพน่ารังเกียจทั้งภายในพื้นที่ฝังกลบเอง และสภาพโดยรอบก็มีขยะปลิวกระจาย และส่งผลต่อมลพิษต่างๆที่เกิดจากการจัดการฝังกลบขยะที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ กลิ่น น้ำชะขยะที่ปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดิน รวมถึงก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นการก๊าซเรือนกระจก ปัญหาของการกำจัดขยะโดยใช้เตาเผา คือ การไม่ยอมรับของประชาชนโดยกังวลว่าการเผาขยะจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีความรุนแรง
กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการกำจัดขยะ มีการจัดเก็บ แยก ทำลาย เผา ฝัง ทำปุ๋ยหมัก จึงจัดทำโครงการ "ร่วมด้วยช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ" เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

70.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

1000.00 1500.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

100.00 200.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

7.00 7.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

8.00 8.00
6 เพื่อบริหารงบประมาณในการจัดการขยะ

จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)

120000.00 60000.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนงานผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 8 หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2564 ถึง 13 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจในการลด คัดแยกขยะในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจในการลด คัดแยกขยะในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติจากกองทุน สปสช.

2.ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแต่ละหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2564 ถึง 13 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปแบบการบริหารจัดการขยะในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาตะแกรงเหล็กแบบแยกประเภท

ชื่อกิจกรรม
จัดหาตะแกรงเหล็กแบบแยกประเภท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาตะแกรงเหล็กแบบแยกประเภท

  • ค่าป้ายอะคริลิค (ขวดแก้ว)      56 ป้าย x   100 บาท  = 5,600 บาท

  • ค่าป้ายอะคริลิค (ขวดพลาสติก)      56 ป้าย x   100 บาท  = 5,600 บาท

  • ค่าตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ    56 ชุด x 2,652.46 บาท = 148,538 บาท   

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 159,738 บาท  (เป็นเงินหนึ่งแสนห้าหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน)

(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีตะแกรงเหล็กแบบแยกประเภทขยะ  จำนวน 56 ชุด หมู่บ้านละ 7 อัน จำนวน 8 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
159738.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ถูกประเภท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 159,738.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและนำขยะมาใช้ประโยชน์

2. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย

3. ปริมาณขยะมีจำนวนลดลง

4. ประชาชนมีรายได้จากการขายขยะ

5. ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้มแข็งและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

6. ทำให้พื้นที่มีการจัดการขยะที่มีระเบียบและเป็นระบบ


>