กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โรงเรียนพัฒนศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ปุโละปุโย

1. นางสาวพฎาศรัยทองมา
2. นางกัสมีนีสะมะแอ
3. นางฮาซานา สาเระ
4. นางช่อพิศสุวรรณโน
5. นางขนิษฐาแสนสุภา

โรงเรียนพัฒนศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

 

80.00
2 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

 

80.00
3 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีผลผลิตจากโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

 

80.00

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จากสถานการณ์ด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนพัฒนศึกษาภาพรวมส่วนใหญ่กว่า 80% น้ำหนักส่วนสูงสมส่วน แต่ก็มีภาวะโภชนาเกิน และทุพโภชนาการ อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งนักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษาบางคนไม่ชอบกินผัก และชอบบริโภคขนมและ น้ำหวาน สิ่งสำคัญที่สุดคือ วัตถุดิบในการประกอบอาหาร อาจจะมาจากแหล่งผลิตและวิธีการผลิตโดยใช้สารเคมีหรือไม่ ทำให้การบริโภคผักไม่ปลอดภัย ด้วยเหตุนี้โรงเรียนพัฒนศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภค อาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภค ผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพในโรงเรียนขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียน รวมถึงการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ นักเรียนได้มีทักษะเพื่อนำไปใช้แนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ผักที่ปลูกทางโรงเรียนเน้นผักสวนครัว เช่น ผักบุ้งกะเพรา โหระพา พริก มะเขือ ขิง ข่า ตะไคร้ ซึ่งนักเรียนแต่ละระดับชั้นจะทำการแบ่งกลุ่มลงแปลงปลูกผัก ดูแลผลผลิต จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตขายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน ซึ่งทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปรับใช้ที่บ้าน จนสามารถมีแปลงปลูกผักและมีพืชผักไว้กินและเหลือจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

50.00 95.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้รู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

70.00 90.00
3 เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน

ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีผลผลิตจากโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ -ค่าวิทยากร บรรยายให้ความรู้และสาธิต จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 400 บ. 2 คน =4,000 บาท -ค่าอาหารว่างวิทยากรและนักเรียนจำนวน 25 บ.x 2 มื้อ 139 คน =6,950 บ. รวม  10,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2565 ถึง 7 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ-ค่าแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ
1. แปลงปลูกผักแบบท่อบ่อ 10 บ่อๆละ 120 = 1,200 บาท 2.ดินถม 1 คันๆละ1,200 บาท=1,200บาท 3. ปุ๋ย 5 กระสอบๆละ 80= 400 4.เมล็ดพันธุ์พืช550 บาท
รวม 3,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
2.โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ -ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด
1.50 x 2.40 ม.(ต.ร.ม.ละ 150 บาท)
รวม  540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เผยแพร่การจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
540.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรมจัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมจัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน -ค่าเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน 2 เล่มๆละ 80
รวม 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำผลการดำเนินงานไปปรับใช้ในการพัฒนาการจัดทำโครงการครั้งต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
160.00

กิจกรรมที่ 5 อาหารกลางวันผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
อาหารกลางวันผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมนี้ได้นำผลผลิตจากการปลูกผักปลอดสารพิษนำมาปรุงสุกเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เมนูอาหารกลางวันมีดังนี้ วันจันทร์=แกงเขียวหวานไก่ใสตับไก่,ผัดผักบุ้งใส่ไข่ วันอังคาร=ผัดกระเพราะไก่,แกงจืดไก่ วันพุธ=ผัดผักแตงกว่าไก่สับ,เนื้อแดงไก่ใส่ผัก วันพฤหัสบดี = ผัดเผ็ดลูกชิ้นใส่มะเขืื่อ,ข้าวผัดรวมมิตรใส่ผัก วันศุกร์=ผัดผักบุ้งจีนไก่สับ,แกงเลียง จำนวนเด็กนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารกลางวันในแต่ละวันจำนวน 137 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.ขั้นวางแผน
1.1 ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ
1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ
1.3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปุโละปุโย
2. ขั้นดำเนินการตามแผน
2.1 เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน
2.2 เตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์สำหรับปลูกผัก
2.3 จัดทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ
2.4 ดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษ ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวภายในระยะเวลาประมาณ 40-45 วัน
3. ขั้นติดตาม/ประเมินผล
3.1 ติดตามผลการดูแล รักษาการปลูกผักปลอดสารพิษ
3.2 ติดตามผลการบริโภคผักปลอดสารพิษของนักเรียน
3.3 ติดตามผลภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง 3.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
3.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
4.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
4.1 จัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปุโละปุโย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
2. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
3. โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน


>