กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

สำนักเลขานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ

องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระบบท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือ “กองทุนตำบล” เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง ประกอบกับการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ถือเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่จะทำให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน และเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ จึงได้จัดทำโครงการการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ข้อ 10 (4) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ แก่ผู้ขอรับทุน

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

 

0.00
3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

 

0.00
4 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหง่ชาติกำหนด

 

0.00
5 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และรับรองรายงานการประชุม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษา
    1.1 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ 21 รายๆ ละ 400.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 25,200.- บาท
    1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ 21 รายๆ ละ 25.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 1,575.- บาท
  2. ค่าตอบแทนสำหรับอนุกรรมการกองทุนฯ
    2.1 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับอนุกรรมการกองทุนฯ 4 รายๆ ละ 300.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 3,600.- บาท
    2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอนุกรรมการกองทุนฯ 4 รายๆ ละ 25.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 300.- บาท
  3. ค่าตอบแทนสำหรับคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    3.1 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 รายๆ ละ 300.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 9,000.- บาท
    3.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 รายๆ ละ 25.- บาท จำนวน 3 ครั้ง 750.- บาท
  4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในงานกองทุนหลักประกันฯ 2,575.- บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 43,000.- บาท (เงินสี่หมื่นสามพันบาทถ้วน)
    หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายโดยประมาณตามรายการดังกล่าวข้างต้นสามารถจ่ายถั่วเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีการเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3. การจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และรับรองรายงานการประชุมมีความถูกต้อง และตรงตามระเบียบ/รูปแบบที่กำหนด


>