กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง และคัดกรองบุคคลที่เสี่ยงด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง และคัดกรองบุคคลที่เสี่ยงด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ

ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 26กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558และจากสถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงพบผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบผู้ติดเชื้อโรคดังกล่าว จำนวน 179 คน และเสียชีวิต จำนวน 5 คน (ข้อมูลโรงพยาบาลยะหริ่ง, ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2564) จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการค้นหา และดำเนินการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุก และการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการระบาดในพื้นที่ตำบลตันหยงดาลอที่พบผู้ติดเชื้อเป็นครอบครัว
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง และคัดกรองบุคคลที่เสี่ยงด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในตำบลตันหยงดาลอ ประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการพยาบาล และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อจัดหาวัสดุทางการแพทย์ สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
3 เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

 

0.00
4 เพื่อนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุด

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/11/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 แอลกอฮอล์ชนิดน้ำ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 5 ขวด ๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
2.2 แอลกอฮอล์เจล สำหรับล้างมือ ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนว 10 ขวด ๆ ละ 155 บาท เป็นเงิน 1,550 บาท
2.3 ขวดฟ๊อกกี้ ขนาด 1,000 มิลลิลิตร จำนวน 3 ขวดๆ ละ 95 บาท เป็นเงิน 285 บาท
2.4 หน้ากากอนามัย จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 2.5 ถุงมือแพทย์ จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 290 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท
2.6 ถุงขยะแดง ขนาด 1840 จำนวน 10 แพ็ค ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 750 บาท
2.7 ถุงขยะดำ ขนาด 18
40 จำนวน 10 แพ็ค ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 750 บาท
2.8 ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 350 ชุดๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 87,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดหาวัสดุุ อุปกรณ์ และชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)  พร้อมส่งมอบ รพ.สต. เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
97735.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษา

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม่มีค่าใช่จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถนำผู้ติดชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,735.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. บุคคลที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ได้รับการคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
2. สามารถป้องกัน และควบคุมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง


>