กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเพื่อลูกน้อยในครรภ์ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

สำนักปลัด เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

นางผุสดี ถัดสีทัย

หมู่ที่1-10 เขตความรับผิดดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์อนามัยแม่และเด็ก ในเขตตำบลบ้านพร้าวพบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปีในหลายประเด็น ได้แก่ ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ เพราะปกติเมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดและพลาสมาเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้การเพิ่มของเม็ดเลือดของแม่ท้องอาจจะมีน้อยกว่าคนปกติ อีกทั้งหญิงที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะซีดลงเล็กน้อยอยู่แล้ว เนื่องจากร่างกายของแม่ตั้งครรภ์ จำเป็นต้องใช้เม็ดเลือดแดงในการส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงลูกในท้อง ส่วนลูกก็ต้องสร้างเม็ดเลือดแดงของตัวเองขึ้นมา ทำให้ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้น และได้จากการดึงมาจากร่างกายของแม่ จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีด โดยเฉพาะคุณแม่วัยรุ่น ครั้งที่ 1 ปี 2559 จำนวน 3 คน จาก จำนวน 48 คน และปี 2560 มีภาวะซีด จำนวน 7 คน จากจำนวน 52 คน ซีดครั้งที่ 2ปี 2559มี 1 คน ปี 2560มี 1 คน ปี 2559 มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กก. จำนวน 3 คน จากหญิงตั้งครรภ์ 57 คน ปี 2560 จำนวน 4 คน จากหญิงตั้งครรภ์25 คน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 60.03 เด็ก 0 – 5 ปี ส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วน 59.31 มารดามีภาวะเสี่ยง จากโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และภาวะตกเลือดหลังคลอด ดังนั่้นพัฒนาการที่สมวัยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก การที่เด็กจะมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆ ด้าน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่แม่หรือครอบครัวที่จะต้องให้การดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้องตั้งแต่ อยู่ในครรภ์แม่โดยเน้นการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอ เหมาะสมโดย หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝากก่อน 12 สัปดาห์หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์หญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ร้อยละ 5 และมีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ โลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 10

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการแก่หญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

หญิงตั้งครรภ์ในเขตความรับผิดชอบมีภาวะโภชนาการที่ดีและได้รับสารอาหารที่่เหมาะสม

80.00 100.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองให้เหมาะสม

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในวันอบรม  25 คน 1 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน  625   บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 ครั้งๆละ 1 ชม.ๆละ 600 บาท   เป็นเงิน  600 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 1 ป้ายขนาด 1 x 3 เมตร  เป็นเงิน  450  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาาพตนเอง/ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1675.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุน นม – ไข่แก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุน นม – ไข่แก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเสริมนมและไข่ไก่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 25 คนๆละ 350.- บาท  จำนวน 12 เดือน เป็นเงิน 105,000.- บาท
  • ค่าถุงใส่ของ  เป็นเงิน  500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั่้งครรภ์มีภาวะโภชนการที่ดีและได้รับสารอาหารที่เหมาะสม/ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมโภชนาการร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
105500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 107,175.00 บาท

หมายเหตุ :
***สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ทุกรายการ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองมากขึ้น
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้อง


>