กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างสุขภาวะด้วยการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขภาวะด้วยการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง

1.นายเจริญศักดิ์ ชูสง
2.นายโชคชัย สิงห์ดำ
3.นายอาทร บุญแสง
4.นางสุพิศ เรืองพุทธ
5.นายณัฐพงศ์ คงสง

ตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยสถานการณ์ขยะในพื้นที่ตำบลโคกม่วง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง ร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะในปีงบประมาณ 2565 สถานการณ์โดยรวมของ ต.โคกม่วง มีพื้นที่ทั้งหมด 42,500 ไร่มีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด3,510 ครัวเรือนมีประชากรรวม 10,371 คนมีโรงเรียน 5 โรงเรียนมีวัด 4 วัดมีมัสยิด 7มัสยิด มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะได้ 822 ครัวเรือนแต่ยังไม่มีความรู้ในการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นจริง ร้อยละ7.93%ของครัวเรือนทั้งตำบล มีโรงงานน้ำยางพารา 6 โรง พบว่าแต่ละวันมีปริมาณขยะจำนวน 10.5 ตันต่อวัน 291 ตันต่อเดือนขยะที่เกิดขึ้นทั้งตำบลมี 4 ประเภทขยะอินทรีย์ 63%ขยะรีไซเคิล30%ขยะอันตราย4%ขยะทั่วไป 3%ปี 2564 มีประชาชน ไข้เลือดออก 4 ราย แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด19) การสร้างมีส่วนร่วมการจัดการขยะ ที่ผ่านมายังคงมีปัญหาในเรื่องการจัดการขยะอยู่โดยเฉพาะขยะทั่วไปที่เป็นปัญหาในการจัดการ จึงเป็นความคิดเห็นร่วมกันว่าด้วยการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตำบลโคกม่วงได้ แต่ยังคงมีปัญหาจากกลุ่มเป็าหมายที่ไม่เห็นด้วยและขยะที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด19) ที่มีขยะประเภทติเชื้อเพิ่มขึ้น และขยะทั่วไปที่เพิ่มขึ้นจากอาหารกล่อง แต่ก็มีการขยายเตาเผาทั้ง 15 หมู่บ้านไปแล้วนั้น จึงเป็นเหตุให้มีการดำเนินการเรื่องการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลดแห่งพาหะนำโรค ที่มาจากขยะของพื้นที่ตำบลโคกม่วง ทั้ง 15 หมู่บ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความสามารถปฏิบัติการการจัดการขยะในครัวเรือนได้ทุกประเภท ทั้ง 15 หมู่บ้าน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ สามารถจัดการขยะทุกประเภทไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

50.00 20.00
2 เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมทุกหน่วยงานและองค์กรในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง

กลุ่มเป้าหมาย วัด  โรงเรียน มัสยิด  รพ.สต. มีส่วนร่วมการจัดการขยะของตำบลไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

30.00 20.00
3 เพื่อข้อมูลความเป็นจริงสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาขยะของตำบลโคกม่วง

มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะจากชุมชน ทั้ง 15 หมู่บ้านและองค์กรในตำบล ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 375
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามสถานการณ์การจัดการขยะตำบลโคกม่วง ทั้ง 15 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามสถานการณ์การจัดการขยะตำบลโคกม่วง ทั้ง 15 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานติดตามสถานการณ์ขยะของตำบลทั้ง 15 หมู่บ้าน ขยายผลการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง การคัดแยกขยะเป็นและการใช่เตาเผาขยะได้ ทั้ง 15 หมู่บ้าน 1.คณะทำงานและวิทยากร 5 คน กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 25 คน รวม 30 คน -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300 = 900 บาท x15 ครั้ง = 13,500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาทx 30 คน =750 บาทx 15 ครั้ง=11,250 บาท รวม 24,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานทั้ง 15 หมู่บ้าน ติดตามสถานการณ์ปัญหาขยะทั้ง 15 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24750.00

กิจกรรมที่ 2 คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามสภาพปัญหาขยะพืั้นที่ วัด โรงเรียน มัสยิด

ชื่อกิจกรรม
คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามสภาพปัญหาขยะพืั้นที่ วัด โรงเรียน มัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามสภาพปัญหาขยะพืั้นที่ วัด 5 โรงเรียน 5 มัสยิด 2 รพ.สต. 3 เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วม 1.คณะทำงาน 6 คนลงพื้นที่พบกลุ่มเป้าหมายองค์กรละ 4 คน รวม 10 คน -ข้อมูลสภาพปัญหา แนวทางแก้ปัญหา ของแต่ละองค์กร -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาทx10 คน =250 บาทx 15 ครั้ง=3,750 บาท -ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ สถานที่นี่คัดแยกขยะก่อนทิ้งลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายลดพาหะนำโรค ขนาด 1.2x2.4 = 500 บาท x 15 ป้าย= 7,500 บาท รวม 11,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลผลการติดตามทั้ง 15 หมู่บ้าน ผลที่เกิดขึ้นและปัญหาที่ได้จากการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการติดตามพื้นที่ทั้ง 15 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการติดตามพื้นที่ทั้ง 15 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานสรุปผลการติดตามประเมินผลการจัดการขยะทั้ง 15 หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลผลการติดตามทั้ง 15 หมู่บ้าน ผลที่เกิดขึ้นและปัญหาที่ได้จากการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนทั้ง 15 หมู่บ้านได้รับรู้ในการจัดการขยะเพื่อลดพาหะนำโรค


>