กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี

ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่น้อยกว่าวันละ 10,000 รายต่อวัน ประชาชนทั่วไปได้รับการฉีดวัคซีนไม่ถึงร้อยละ 70ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขปกติจะรับไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเตียงไม่เพียงพอสำหรับการรักษาตัวผู้ป่วยซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรคโดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อดูแลรักษาแยกกักการกักตัวดูแลรักษาที่บ้านการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลสนามโดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการแก้ไขปัญหา
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของจังหวัดสตูลพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องด้วยเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เป็นระยะ ๆ ได้แก่ คลัสเตอร์โรงงานปลากระป๋อง คลัสเตอร์โกลบอลเฮาส์คลัสเตอร์งานศพเป็นต้นซึ่งจากการเกิดคลัสเตอร์ดังกล่าว ทำให้จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่มีจำนวนมากโรงพยาบาลที่มีอยู่ในพื้นที่หรือโรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งขึ้น ไม่สามารถที่จะรองรับจำนวนผู้ป่วยดังกล่าวได้ ทำให้มีผู้ป่วยที่รอรับการส่งตัวไปรักษาตัวต่อต้องรอเตียงอยู่ที่บ้านส่งผลให้คนใกล้ชิดต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อต่อ ๆ กันไป และอาจขยายเข้าสู่ชุมชนในวงกว้างมากขึ้นดังนั้น การพัฒนาระบบศูนย์พักคอยเตียงเพื่อรอการส่งตัวไปรักษาต่อหรือดูแลผู้ป่วยโควิดแก่คนในชุมชนด้วยการจัดตั้งศูนย์พักคอย (Community Isolation) จึงเป็นทางออกเพื่อการรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่เป็นอย่างดี ประกอบกับหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 4116 ลงวันที่ 19 กรกฏาคม2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างถูกต้องและหนังสือจังหวัดสตูล ด่วนที่สุด ที่ สต 0023.3/ว5487 ลงวันที่ 5 ตุลาคม2564เรื่อง การจัดตั้งสถานที่ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิท-19)เพื่อให้การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิท-19)ของจังหวัดสตูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงหนังสือจังหวัดสตูล ที่ สต 0032/ว 5776 ลงวันที่ 21ตุลาคม2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (ศูนย์พักคอย) ระดับอำเภอ CommunityIsolation เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิท-19) และเตรียมการในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี เห็นความตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจเพื่อบริหารจัดการให้ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดแยก และดูแลรักษาผ่านศูนย์พักคอย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริหารจัดการศูนย์พักคอยระดับตำบลให้เป็นระบบ

ประชาชนที่มีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดแยก และดูแลรักษาผ่านศูนย์พักคอย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้าง

100.00 100.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ประชาชนในพื้นที่ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบริหารจัดการศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบริหารจัดการศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมโครงการฯ เช่น ชุด PPE เสื้อกันฝนถุงขยะ ถังขยะ เแอลกอฮอล์น้ำยาฆ่าเชื้อ ป้ายไวนิลสื่อประชาสัมพันธ์ และอื่นๆเป็นเงิน40,000.- บาท

  • ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับเจ้าหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่3) พ.ศ. 2559เป็นเงิน 50,000.-บาท

  • ค่าสาธารณูปโภค เป็นเงิน 10,000.-บาท

รวมเงินทั้งหมด 100,000.- บาท(เงินหนึ่งแสนบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถั่วจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดแยก และดูแลรักษาผ่านศูนย์พักคอย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้าง
2. ประชาชนในพื้นที่ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


>