กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต

ตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

11.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

20.00
3 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

6.00
4 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

65.00
5 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

2.00

การบริหารงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการและการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนที่จะทำให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้น คณะกรรมการควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีวิสัยทัศน์มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานกองทุนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมตัดสินใจ มีการตรวจสอบและให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการอยู่แล้ว คณะกรรมการทุกคนจึงควรมีเจตคติความเข้าใจที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือทำให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่มีคุณภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน
ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนให้สามารถใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตจึงได้กำหนดโครงการส่งเสริมและพัฒนาบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้การบริหารงานของกองทุนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างการมีส่วนร่วมของกองทุนและภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมกรรมการ อนุกรรมการ และผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมกรรมการ อนุกรรมการ และผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 การจัดประชุมกรรมการและที่ปรึกษาจำนวน27,860บาทรายละเอียดดังนี้ - ค่าตอบแทนกรรมการและที่ปรึกษา จำนวน 19 คนๆ ละ 300 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 22,800บาท - ค่าอาหารว่างสำหรับกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน4มื้อเป็นเงิน2,300บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน ๆ ละ
60 บาท/มื้อ จำนวน2มื้อ เป็นเงิน2,760บาท 2 การจัดประชุมอนุกรรมการจำนวน 9,510 บาทรายละเอียดดังนี้ - ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวฯ จำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้งเป็นเงิน6,000บาท - ค่าอาหารว่างสำหรับอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 26 คน ๆ ละ
25 บาท/มื้อ จำนวน3มื้อเป็นเงิน 1,950 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 26 คน ๆ
ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน2มื้อ เป็นเงิน1,560บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  มีกรรมการ อนุกรรมการ  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ผลลัพธ์  กรรมการ อนุกรรมการ  และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37370.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้นำสุขภาพชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้นำสุขภาพชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้นำสุขภาพชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
จำนวน 17,050  บาท  รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหาร จำนวน 35 คน ๆ ละ 150 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  5,250  บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 35 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน  2  มื้อ    เป็นเงิน  3,500   บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน  4,800  บาท     - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม/ ค่าปากกา/สมุด/กรเป๋าใส่เอกสาร
  จำนวน 3,500 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน  3,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้นำสุขภาพชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ กองทุนได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกองทุนกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17050.00

กิจกรรมที่ 3 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ
1.ค่าเข้าร่วมอบรมและประชุมของกรรมการอนุกรรมการและผู้เกี่ยวข้องจำนวน10,000บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางไปราชการเช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางค่าพาหนะค่าที่พักค่าลงทะเบียนฯลฯ 2. ค่าตู้เก็บเอกสารจำนวน2ตู้ เป็นเงิน11,000บาท 3. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน 4,483 บาท เช่น ป้ายที่ทำการกองทุนฯปากกา ดินสอ ฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การบริหารงานของกองทุนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25483.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 79,903.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 การบริหารงานของกองทุนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2 กองทุนได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกองทุนกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ
3 การรับเงินการจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


>