กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลายตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน

1.นางฮอดีย๊ะตะหวัน เบอร์ติดต่อ 090 -7122360
2.นางยามีล๊ะ ยะโกบ เบอร์ติดต่อ 083-1838783
3.นายสุทัศน์ หาบยูโซ๊ะ เบอร์ติดต่อ 080-05477120
4. นางภัทรวรรณยะโกบ เบอร์ติดต่อ 089-7394147
5.นางสุริยะ สหับดิน เบอร์ติดต่อ 084- 6916324
ที่ปรึกษา
1.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3.นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
4.นางสาวเสาวนา หลงจิ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -1 ก.ย. 64 พบผู้ป่วย 6,485 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา อายุ 15-24 ปี โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือ ยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามที่อยู่อาศํย ในสวนยางพาราขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่นโอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 4 ปีที่ผ่านมาในตำบลบ้านควนมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ดังนี้ คือปี พ.ศ 2561 จำนวน 87 ราย พ.ศ.2562 จำนวน 34 ราย พ.ศ.2563 จำนวน 30 ราย พ.ศ.2564 จำนวน 1 ราย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายลุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชากรจากไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย

มีประชากรป่วยจาก ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย ลดลง

30.00 10.00
2 เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา

พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษา อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11,283
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย (พื้นที่รัศมี 100 เมตร )

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย (พื้นที่รัศมี 100 เมตร )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.พ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาช่วงการระบาด โดย การพ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่พืีนที่สาธารณะ คือ มัสยิด โรงเรียน ศพด. พื้นที่สาธารณะแห่งๆละ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์
2.พ่นสสารเคมีควบคุม ระงับโรค กรณ๊ได้รับแจ้งการป่วยหรือเหตุอื่นๆ จาก รพ.สต .เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.ประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ตลอดทั้งปี เป็นเงิน 33,000.- บาท
2.น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 2,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยแมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35500.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีความรู้ ทำความเข้าใจและสามารถไป เผยแพร่และนำไปปฏิบัติได้ โดย วิธีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
1.จัดนิทรรศการแสดงวัสดุ อุปกรณ์ ที่สามารถใช้กำจัดและตัดวงจรการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลาย และยุงลาย
2.เดินรณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะใส่น้ำในครัวเรือนพร้อมแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
3.สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
4.จ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ (กรณีพบการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก )
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าจ้างเหมารถแห่ประชาสัมพันธ์จำนวน 5 วันๆละ 1,000.- บาท เป็นเงิน 5,000.- บาท
2.สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น แผ่นผับ ป้ายไวนิล ใบปลิว ฯลฯ เป็นเงิน 3,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยจาก ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย มีจำนวนลดน้อยลง
2.ลดจำนวนประชากรยุงที่เป็นพาหนะลงได้


>