กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) เทศบาลเมืองคลองแหประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

85.46
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

65.13
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

69.10
4 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

98.22
5 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

79.40
6 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

 

52.19
7 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

 

35.00
8 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.20

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี256๔ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด19 ของตำบลคลองแหมีผู้ติดเชื้อจำนวน1,483คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน 591 คน และหายดีกลับบ้านได้แล้ว จำนวน889 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3คนและมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่กลางที่จัดตั้งขึ้น (Local Quarantine) จำนวน 20คนกักตัวที่พักอาศัยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรค Home Quarantine จำนวน1,161คนซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทสบาลเมืองคลองแหได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolationและ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564เทศบาลเมืองคลองแหจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

85.46 95.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

65.13 80.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

52.19 85.00
4 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

69.10 90.00
5 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

98.22 100.00
6 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

79.40 90.00
7 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.20 75.00
8 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

35.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 350
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,500
กลุ่มวัยทำงาน 6,000
กลุ่มผู้สูงอายุ 3,500
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 900
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 150
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 9,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/06/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสมาชิก(ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จนท.หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 นำไปดำเนินการตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสมาชิก(ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จนท.หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 นำไปดำเนินการตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจง และอบรมมาตรการการทำงานในการป้องกันโรคโควิด 19

ผู้เข้าร่วมอบรม20คนคณะทำงานวิทยากร จำนวน 5 คน

  • ค่าไวนิลโครงการขนาดกว้าง 1.5 x 2.5 เมตรจำนวน 3 ตารางเมตรๆละ 120 บาท เป็นเงิน 450บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คน X 25 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 625 บาท

  • เอกสารประกอบการอบรม ( แฟ้ม สมุด ปากกา ) จำนวน 25 ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มกราคม 2565 ถึง 27 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมการอบรม สามารถตรวจ ATK และแปรผล พร้อมทั้งสามารถให้คำแนะนำได้ถูกต้อง และสามารถตรวจคัดกรองเบื้องต้นในกลุ่มเสี่ยงได้

อสม. / แกนนำมีความรู้เรื่องการใช้ชุดทดสอบ ATK

เกิดแผนการคัดกรอง ATK ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2575.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่ และบุคลากรในที่ทำงาน

  1. ค่าวัสดุทางการแพทย์และเวชภัณฑ์
  • ค่าน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID - 19 ) จำนวน10 ขวดๆละ 1,950 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท

  • ค่าถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 5 กล่องๆละ 260 บาท เป็นเงิน 1,300บาท

  • สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 450 ml จำนวน 10 ขวดๆละ 120บาท เป็นเงิน 1,200บาท

  • เจลแอลกอฮอล์ ขนาด 450ml จำนวน10ขวดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

    2.ค่าตอบแทนและค่าอาหารและเครื่องดื่ม

-ค่าตอบแทนพนักงานเทศาบาล บุคลากรสาธารณสุข แกนนำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • ค่าตอบแทน เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่ายในการปฏิบัติงาน บริเวณจุดคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ( Covid -19 ) อัตราวันละ 300บาท

  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการรับ -ส่งผู้ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาพยาบาลอัตราวันละ 300 บาท
    รวมเป็นเงินเป็นเงิน48,000 บาท

    -ค่าน้ำดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการตรวจคัดกรองวันละ 300 บาทจำนวน 31 วันเป็นเงิน 9,300 บาท

    1. ค่าวัสดุสำนักงาน และค่าสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5เมตร x 2.5 เมตร รวม 3.75 ตารางเมตรๆ 120 บาท เป็นเงิน 450 บาท

4.ค่าเช่าเต๊นท์ ขนาดกลางวันละ 900 บาทเป็นเงิน 14,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
95350.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายใน อสม. บุคลากร และพนักงานเทศบาล

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายใน อสม. บุคลากร และพนักงานเทศบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมให้ แกนนำสุขภาพ มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น โดย

-ส่งเสริมให้มีจุดจอดรถและให้เดินและขึ้นบันไดในการทำงาน

-ให้จอดรถ และให้เดินมายังที่มีการจัดอบรม

-ให้มีจุดจอดรถและให้เจ้าหน้าที่ อสม. เดินมายังจุดที่ให้บริการตรวจคัดกรอง ATK

-จัดให้มีการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย ในช่วงพักเบรคของการจัดอบรมทุกๆโครงการ

  1. เอกสาร/สมุดประจำตัวในการบันทึกการนับก้าว จำนวน 30 เล่มๆละ 30บาท เป็นเงิน900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พนักงานเทศบาล   อสม. แกนนำสุขภาพ  มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงาน คณะผู้บริหารพนักงานเทศบาลจำนวน20คน

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆละ 25บาทเป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเอกสารรูปเล่มสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน

2. ชุมชนปลอดโรค ไม่มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่


>