กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตำบลโคกชะงาย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้งสูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย

1. นายนิตย์ ขวัญพรหม
2. นางสาวกญจนา กาญจนสิงห์
3. นางหนูอั้น ไข่ทอง
4. นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
5. นายชรินทร์ หนูเกื้อ

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

 

87.46
2 จำนวนแผนงานโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ผ่านมา

 

1.00

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ให้การยกย่องนับถือ เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเมื่อครั้งยังอยู่ในวัยทำงานสำหรับประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นทำให้สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรวัยอื่น เมื่อกระทรวงสาธารณสุขทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากรในประเทศและในพื้นที่แล้วกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการเตรียมการและให้การช่วยเหลือด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสุขภาพช่องปากจะเสื่อมลง ซึ่งสุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับความสมบูรณ์ และแข็งแรงของสุขภาพ หากมีการสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหารทำให้ต้องเลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่ายซึ่งมีไขมันสูงคลอเลสเตอรอลสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยซึ่งร่างกายจำเป็นต้องได้รับ การสูญเสียฟันทั้งปากเป็นปัจจัยเสี่ยงของการมีน้ำหนักลดลงและมีปัญหาในการสื่อสารหรือร่วมกิจกรรมในสังคม การมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์กับเบาหวาน โรคหัวใจ โรคทางระบบทางเดินหายใจ และสุขภาพจิต เป็นต้น จากข้อมูล ปี 2564 ผู้สูงอายุตำบลโคกชะงายที่ได้รับการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข จำนวน 914 คน พบปัญหาฟันผุที่ต้องได้รับการรักษา จำนวน 68 คน โรคปริทันต์ 59 คน และมีผู้สูงอายุที่มีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป จำนวน 571 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหากไม่ได้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
ดังนั้นทางศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพปากและฟันของผู้สูงอายุตำบลโคกชะงาย จึงเห็นสมควรส่งเสริม
ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตำบลโคกชะงาย ปี 2565 ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในช่องปากและโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในช่องปาก เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความสุขและเมื่อพบผู้สูงอายุที่มีปัญหาในช่องปากก็ได้รับการรักษาและส่งต่อเพื่อรับรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 พื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง

ผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 85

73.00 85.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

ผู้สูงอายุทุกคนได้รับตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

87.46 100.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ

ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ ร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุ (ชุดส่งเสริมสุขภาพช่องปาก) ชุดละ 150 บาท จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 2 เมตร ตรม.ละ 180 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 540 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 85
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21940.00

กิจกรรมที่ 2 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สรุปและประเมินผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีรายงานสรุปและประเมินผลโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,940.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและได้รับตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข
- ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา/ส่งต่อ ร้อยละ 100


>