กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ข่มโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนง

หมู่ที่ 1/5/6/7/8/10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รักษาอยู่ที่ รพ.สต.จะโหนง

 

70.00
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาอยู่ที่รพ.สต.จะโหนง

 

15.00
3 ผู้ป่วยที่เข้าร่วมชมรมข่มโรคเรื้อรัง

 

40.00

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว โดยเฉพาะโรคเบาหวานก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่าทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปีและมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนง โดยให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนมาก และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น มีระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ภายหลังการรักษาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้สามารถปฏิบัติและดูแลตนเองได้ดีขึ้นไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนง ตำบลจะโหนง จึงได้จัดทำโครงการข่มโรคเรื้อรังขึ้น ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

จำนวนผู้ป่วยโรคความดินโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

40.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ัำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

15.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/11/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  2. เตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานมีความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  2. มีแผนการดำเนินงานตามกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มความรู้ เพิ่มกิจกรรมทางกาย คลายโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มความรู้ เพิ่มกิจกรรมทางกาย คลายโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน

- การวัดความดัน/เจาะน้ำตาลในเลือด/วัดรอบเอว/ช่างน้ำหนัก 2. ชี้แจงพร้อมอธิบายผลการตรวจสุขภาพ 3. อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่บ้านที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ - ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหาร จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 3,960 บาท ดังนี้ 1) ถุงผ้าใส่เอกสาร จำนวน 40 ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2) กระดาษเอซี จำนวน 2 รีม ๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท 3) ปากกา จำนวน 50 ด้าม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 4) สมุด จำนวน 40 เล่ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 600 บาท 5) สายวัดรอบเอว จำนวน 40 อัน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 6) เสื้อโยคะใช้สำหรับสาธิต จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2565 ถึง 9 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รู้ถึงสภาพร่างกายของตนเอง
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสำหรับตนเอง
  3. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการประกอบกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12260.00

กิจกรรมที่ 3 ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจสุขภาพ (ติดตามผลครั้งที่ 1)

- การวัดความดัน/เจาะน้ำตาลในเลือด/วัดรอบเอว/ช่างน้ำหนัก 2. ชี้แจงพร้อมอธิบายผลการตรวจสุขภาพ 3. ให้ผู้ที่ผลการตรวจสุขภาพออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ออกมานำเสนอวิธีการปฏิบัติตนเองด้านการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน และการประกอบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับตนเอง 4. อบรมให้ความรู้ด้านการจัดการอารมณ์ โดยมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการประกอบกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 4 ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลงพื้นที่เพื่อติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ต่ำ พร้อมสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการประกอบกิจกรรมทางกายที่บ้่าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบแนวทางให้ความช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ปวยโรคเรื้อรัง มีการประกอบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับตนอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสรุปผลการลงพื้นที่ของผู้ป่วยแต่ละราย ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
    • ค่าพาหนะในการลงพื้นที่ จำนวน 6 คน ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 600 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 6 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 180 บาท
    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์360 บาท มีดังต่อไป 1) สมุด จำนวน 6 เล่ม ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 120 บาท 2) ปากกา จำนวน 6 อัน ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 60 บาท 3) ถุงผ้าใส่เอกสารจำนวน 6 ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 180 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2565 ถึง 14 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีแรงกระตุ้นในการประกอบกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีแรงกระตุ้นในการรับประทานอาหารที่เหมาะกับตนเองเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1140.00

กิจกรรมที่ 5 ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
ใกล้ชิด ติดตามผล ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจสุขภาพ (ติดตามผลครั้งที่ 3)

- การวัดความดัน/เจาะน้ำตาลในเลือด/วัดรอบเอว/ช่างน้ำหนัก 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพของแต่บุคคล
3. ให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อลดภาวะเจ็บป่วยและส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น 4. จัดเวทีเชิดชูเกียติให้กับผู้ป่วยที่สามารถควบคุมอาหาร และประกอบกิจกรรมทางกาย ที่บ้านอย่างสม่ำสม่ำ โดยมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 3,500 บาท ดังนี้ 1) ค่าเกียรติบัตรเชิดชูเกียติ จำนวน 50 ฉบับ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2565 ถึง 28 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการประกอบกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีสุขภาพดีขึ้น ลดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมทางโครงการ
  2. ชี้แจงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขในการดำเนินกิจกรรม
  3. สรุปผลการประเมินโครงการ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1) อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท 2) ค่าเอกสารเข้าเล่ม จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท (เก็บไว้ที่ รพ.สต.จะโหนง/รายงานกองทุนฯ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ประกอบกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีการประกอบกิจกรรมทางกายที่บ้่่าน
  3. ลดภาวะเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,600.00 บาท

หมายเหตุ :
*สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>