กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำใหม่

สำนักงานเทศบาลตำบลลำใหม่

1. นางอมรทิพย์สิบมอง
2. นางสาวสิรินาถมุกดาจารย์
3. นางสาวกัญญาณัฐขาวสุวรรณ
4. นางพรรณเพชรอาวุธ
5. นางผ่องพรรรทองโรย

ลานกิจกรรมออกกำลังกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนออกกำลังกายน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและผู้สูงอายุ โดยพบว่าสาเหตุของกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรา การขาดออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้
ชมรมรักษ์สุขภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจดี มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ด้วยวิธีเต้นแอโรบิค และการเต้นบาสโลบ ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพตนเองได้ด้วยการออกกำลังกายสร้างสุขภาพพลานามัยที่ดีอีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เทศบาลตำบลำใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คนในชุมชน ออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
เป้าหมาย สมาชิกชมรมรักษ์สุขภาพ จำนวน 30 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จ
จำนวนของผู้เข้าร่วมโครงการออกกำลังกาย
ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย และการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน
เป้าหมาย ผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนลดลง ร้อยละ 5 ร้อยละของการลดลงของผู้ป่วยรายใหม่
ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีเวทีจัดทำกิจกรรมร่วมกัน
เป้าหมาย ประชาชนมีสถานที่จัดกิจกรรมจำนวน 1 แห่ง จำนวนสถานที่ที่ประชาชนทำกิจกรรมร่วมกัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สมาชิกชมรมรักษ์สุขภาพ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ            1.1  กิจกรรมย่อย                        เต้นแอโรบิค / เต้นบาสโลบ - ค่าวิทยากร 1 คน วันละ 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 100 บาท เป็นเวลา 10 เดือน (300 วัน) เป็นเงิน 30,000 บาท - ค่าจัดซื้อน้ำดื่ม วันละ 100 บาท เป็นเวลา 10 เดือน
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 600 บาท - ค่าไมโครโฟนไร้สาย เป็นเงิน 1,500 บาท - วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 - ช่วงเวลา 17.00 – 18.00 น.            รวม 62,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทำให้ประชาชนมีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้
  3. ประชาชนที่เข้าร่วมชมรมมีความรักสามัคคีทำกิจกรรมร่วมกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ประชาชนมีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้
3. ประชาชนที่เข้าร่วมชมรมมีความรักสามัคคีทำกิจกรรมร่วมกัน


>