กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน ปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กองทุนหลักประกันสุขภาพทต.บ้านสวน

1.นางสมทรง ประยูรวงศ์ ปลัดเทศบาลตำบลบ้านสวน
2.นางกัญญาภัค สว่างรัตน์ พยาบาลวิชาชีพ 0897741537
3.นางสาวฐิติมา วิเชียรโชติ ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข

ทต.บ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

17.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

36.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว
ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน ประจำปี 2565” ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากองทุนให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตาม

ร้อยละ 80 ของจำนวนโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการ

0.00
2 เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

มีการเพิ่มเติมระเบียบของการบริหารกองทุนเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ

ร้อยละ 80 คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ในการดำเนินงานของกองทุน

0.00
4 เพื่อสร้างประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน

เกิดนวัตกรรมใหม่จากการดำเนินงานของกองทุนฯ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1/65

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ 300 บาทx 8 คน =2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน x 25 บาท =500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ตรวจสอบโครงการและปรับปรุงแก้ไขก่อนเข้าเสนออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2900.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 1/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 1/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะกรรมการฯ 17x400 บาท=6,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม 25x25 บาท = 625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับอนุมัติตามแผน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7425.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมชี้เเจงคณะอนุกรรมการ LTC / CM,CG,CC ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้เเจงคณะอนุกรรมการ LTC / CM,CG,CC ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ LTC 300 บาทx 11 คน =3,300 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน x 25 บาท = 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มีนาคม 2565 ถึง 21 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบแผนการดำเนินงานและแคร์แพลนในการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4050.00

กิจกรรมที่ 4 จัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC/คณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ติดตามงาน ประเมินผล ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC/คณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ติดตามงาน ประเมินผล ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ 300 บาทx 11 คน =3,300 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน x 25 บาท = 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2565 ถึง 14 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบความคืบหน้าในการดูแลผู้ป่วย ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4050.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมอนุกรรมการครั้งที่ 2/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอนุกรรมการครั้งที่ 2/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ 300 บาทx 8 คน =2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน x 25 บาท = 425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2565 ถึง 5 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ตรวจสอบโครงการและปรับแก้ไขก่อนอนุมัติโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2825.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะกรรมการฯ 17x400 บาท=6,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะกรรมการฯและผู้เข้าร่วมประชุม 22 x 25 บาท =550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 เมษายน 2565 ถึง 12 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับอนุมัติตามแผน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 3/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 3/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ 300 บาทx 8 คน =2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน x 25 บาท =425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2565 ถึง 21 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ตรวจสอบโครงการและปรับแก้ไขก่อนอนุมัติโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2825.00

กิจกรรมที่ 8 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะกรรมการฯ 17x400 บาท=6,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะกรรมการฯและผู้เข้าร่วมประชุม 17 x 25 บาท =425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มิถุนายน 2565 ถึง 28 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับอนุมัติตามแผน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7225.00

กิจกรรมที่ 9 ประชุมอนุกรรมการเเละคณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4/65

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอนุกรรมการเเละคณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4/65
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมคณะอนุกรรมการ 300 บาทx 8 คน =2,400 บาท/ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ600 บาท = 1800 บาท ค่าประชุมคณะกรรมการฯ 17x400 บาท=6,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมประชุม 40 คน x 25 บาท =1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2565 ถึง 13 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ประเมินโครงการและตรวจรับโครงการก่อนปิดปีงบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 10 ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

ชื่อกิจกรรม
ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดซื้อวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์(ปริ้นเตอร์) 10,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีอุปกรณ์ใช้ในสำนักงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 11 พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการกองทุนและการจัดทำแผนงานสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการกองทุนและการจัดทำแผนงานสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าที่พัก 2.ค่าอาหาร 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 4.ค่าพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง 5.ค่าวิทยากร/ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุนและอนุกรรมการกองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2565 ถึง 20 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการกองทุน มีความเข้าใจระบบการทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น ได้แผนงานสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

การพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มีการออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน
คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพ
คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ มีประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน


>