กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งพื้นที่กักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตำบลมูโนะ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งพื้นที่กักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตำบลมูโนะ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1. นายไซนัลนิรมาณกุล เบอร์โทร 086-2889391
2. นางสาวอมรพรรณแถมเงิน เบอร์โทร 089-4471827

พื้นที่ตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้าง รวมทั้งเชื้อมีการกลายพันธุ์ทำให้ติดง่ายแต่ไม่แสดงอาการ ส่งผลให้ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม มีการติดเชื้อในประเทศมากกว่า 10,000 คนต่อวัน ถึงแม้ช่วงเดือนตุลาคม 2564 จะมียอดผู้ป่วยต่อวันลดลงน้อยกว่า 10,000 คน แต่การเข้ารับการรักษายังคงล่าช้าเนื่องจากเตียงของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามมีจำกัด ทำให้ต้องรออยู่ที่บ้านหรือที่พักของตนเอง ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิดสู่คนในครอบครัวหรือที่ทำงาน ประกอบกับสถานการณ์ในต่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้านก็มีการระบาดไม่ต่างกัน จึงมีแนวโน้มที่ทำให้แรงงานไทยจะถูกผลักดันกลับประเทศมากขึ้น เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้จนทำให้บางจังหวัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเตรียมสถานที่กักกันในระดับพื้นที่ หรือ Local Quarantine (LQ) เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการกักตัวบุคคลที่เดินทางจากจังหวัดที่มีความเสี่ยง เดินทางกลับจากต่างประเทศ และผู้ใกล้ชิดสัมผัสเสี่ยงสูงขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ซึ่งมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล รวมทั้งอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67(3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ จึงต้องมีการเตรียมการรองรับเรื่องการเฝ้าระวังต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดให้มีสถานที่คัดกรอง แยกกัก กักกันหรือคุมไว้สังเกตอาการโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019 มีสถานที่กักกันหรือคุมไว้สังเกตอาการ

0.00 70.00
2 เพื่อให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีประสิทธิภาพ

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้รับการคัดกรอง

0.00 50.00
3 เพื่อลดอัตราผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้มีจำนวนน้อยที่สุด

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน 1) ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย และ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 3) ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 3.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ 3.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3) ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 4) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้นายกองค์กรปกครองส่วนตำบลทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
304870.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 304,870.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเแลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีสถานกักกัน แยกกัน โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในพื้นที่
2. สามารถจำกัดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้แคบลงได้
3. สามารถลดอัตราผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้
4. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ


>