กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สื่อ ปันความรู้สู่สุขภาพดีตำบลม่วงงาม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม

ตำบลม่วงงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาการเกิดโรคเรื้อรังของประชาชนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสังเกตได้จากผลการคัดกรองโรคของทุกสถานบริการ จากการคัดกรองพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งยังไม่ได้รวมกับโรคในระบบอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาของประชาชน และจากประสบการณ์ที่ทำงานคัดกรอง ยังพบว่าหลังจากการคัดกรองแล้ว เราสามารถแยกกลุ่มผู้รับบริการออกเป็นกลุ่มที่ป่วยกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติการติดตามดูแลรักษาจะเน้นหนักไปที่กลุ่มป่วยเป็นส่วนใหญ่ส่วนประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ จะได้รับการดูแลน้อยลงตามลำดับ วิธีดังกล่าวจึงเป็นการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ ซึ่งเป็นการสวนทางกับหน้าที่หลักของผู้ให้บริการในระดับรพ.สต.ที่จะเน้นหนักในการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมจากปัญหา/ข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรคเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ให้กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มป่วยและป้องกันไม่ให้กลุ่มที่ป่วยมีอาการของโรครุนแรงขึ้นซึ่งแนวทางในการสร้างสุขภาพและป้องกันโรคดังกล่าว อาจจะมีหลายวิธีการให้ความรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติทั้งนี้ในการให้ความรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการเกิดโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคช่องภาพช่องปาก ยาเสพติดเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงามจึงจัดทำโครงการ สื่อ ปันความรู้สู่สุขภาพดีตำบลม่วงงาม เพื่อให้ประชาชนตระหนักให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักและมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพดีขึ้น

ข้อที่ ๑ ประชาชนให้ความสนใจ ปรึกษาและสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ข้อที่ ๒ ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในการดูแลสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โรคที่เกี่ยวข้อง เช่นโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคช่องภาพช่องปาก ยาเสพติด เป็นต้น

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โรคที่เกี่ยวข้อง เช่นโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคช่องภาพช่องปาก ยาเสพติด เป็นต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์(โทรทัศน์) ขนาด ๗๕ นิ้ว จำนวน ๑ เครื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46990.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,990.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมีความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแล ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ
๒. ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีๆ ต่อสุขภาพ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ


>