กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา

ตำบลตะโละแมะนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึงสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี พบว่า มีแนวโน้มทวีความรุงแรงและพบการระบาดในวงกว้างมาขี้น และในหลายพื้นที่อยู่ในระดับรุงแรง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวติประจำวันของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 4หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นจำนวน3,104 คน เป็นอีหนึ่งตำบลที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน37ราย แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้หมู่ที่ 1 บ้านลูกไม้ไผ่ พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 16 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 1,086.96 ต่อแสนประชากรหมู่ที่ 2 บ้านแลแวะ พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 3 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 193.30 ต่อแสนประชากร หมู่ที่ 3บ้านตะโละแมะนา พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 10 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 1,246.88 ต่อแสนประชากร หมู่ที่ 4 บ้านตะโละนิบง พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 8 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 851.97 ต่อแสนประชากร จะพบว่าหมู่ที่ 1 บ้านลูกไม้ไผ่ พบการติดเชื้อมาที่สุด รองลงมาเป็นหมู่ที่ 3 บ้านตะโละแมะนาและหมู่บ้านที่พบการติดเชื้อน้อยที่สุด คือหมู่ที่ 2 บ้านแลแวะ ตำบลตระโละแมะนา ยังไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัฐในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแรักษา แยกกัก การกักตัวดูและรักษาที่บ้าน การตั้งศูนย์พักคอยเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่กอ่นนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามก็ยังพบผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื้อง อย่างไรก็ตาม การตรวจกาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยง ถือว่าเป็นมาตรการสำคัญมาตรการหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 560
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุทางการแพทย์สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ Antigen Test Kit (ATK)

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุทางการแพทย์สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ Antigen Test Kit (ATK)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุทางการแพทย์สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน  560  ชุด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา
  2. ประชาชนในพื้นที่ ตำบลตะโละแมะนาสามารถดำเนินชีวิตประจำวันแบบ New Normal ได้อย่างปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา
2. ประชาชนในพื้นที่ ตำบลตะโละแมะนาสามารถดำเนินชีวิตประจำวันแบบ New Normal ได้อย่างปกติ


>