กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1.นายสมนึก ทองรอด
2.นางพนารัตน์ คำทรา
3.นางไหม หมาดเกื้อ
4.นายยููสุบ ยาชะรัด
5.นางสมบัติ เกื้อสุทธิ์

หมู่ที่ 4,5,6,7,8,9 ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

51.50
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

30.00
3 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้

 

178.00
4 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

30.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก
พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อในจังหวัดพัทลุงจำนวน 13,528 ราย รักษาหายแล้ว 12,508 ราย เสียชีวิต 108 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง วันที่ 7 ธันวาคม 2564) สำหรับอำเภอกงหราพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ จำนวน 7,737 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 2,649 ราย เสียชีวิต 7 ราย (ข้อมูลจากสาธารณสุขอำเภอกงหราวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ) สำหรับตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง พบผู้ติดเชื้อจำนวน 595 ราย รักษาหาย จำนวน 585 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย สำหรับในเขตที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัดรับผิดชอบ ได้แก่ หมู่ที่ 4,5,6,7,8และ9 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 326 ราย รักษาหายแล้ว 316 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะรัด วันที่11 ธันวาคม 2564 ) และจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากสงสัยว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อควรแยกสังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ขณะแยกสังเกตอาการต้องงดการเดินทางหรืออยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วน เครื่องมือ ทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้
ทั้งนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมด้วยนักศึกษาฝึกงานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจ.ยะลา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 จึงจัดกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน หน่วยราชการชุมชน และบริการสาธารณะต่าง ๆ ในตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

51.50 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

178.00 200.00
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

30.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/12/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยใช้ชุดตรวจแบบ ATK ในกลุ่มอสม.เพื่อเป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยใช้ชุดตรวจแบบ ATK ในกลุ่มอสม.เพื่อเป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยใช้ชุดตรวจแบบ ATK ในกลุ่มอสม.เพื่อเป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป เป็นค่า
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
- ค่าสนับสนุนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
รวมเป็นเงิน2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2565 ถึง 20 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มี อสม.เข้าร่วมอบรม 100 คน
2.อสม.ใช้ชุดตรวจ ATK ได้
3.จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยใช้ชุดตรวจแบบ ATK ในกลุ่มประชาชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยใช้ชุดตรวจแบบ ATK ในกลุ่มประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยจัดกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านละ 50 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน รวม 300 คน โดยจัดครึ่งวันที่ศาลาหมู่บ้านหรือที่ รพ.สต. เป็นค่า
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 300 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 6000 บาท
-ค่าสนับสนุนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 6 วัน เป็นเงิน 3600 บาท
-ค่าไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท
-ค่าอุปกรณ์ในการอบรม(สมุด ปากกา) เป็นเงิน 3000 บาท -ชุดตรวจATKแบบProfessional use จำนวน 200 ชุดๆละ 130 บาท เป็นเงิน 26,000 บาท
รวมเป็นเงิน 39,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 300 คน
2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ชุดตรวจ ATK ได้
3.ความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39100.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกในกลุ่มแม่ค่าตลาดนัด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกในกลุ่มแม่ค่าตลาดนัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกในกลุ่มแม่ค้าในตลาดนัด โดยดำเนินการตรวจในแม่ค้าไม่ซ้ำกัน ตรวจทุกคน โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แม่ค้าในตลาดนัด ได้ตรวจคัดกรอง ด้วย ATK ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ลงเยี่ยมพร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวและผู้ป่วยที่รักษาที่บ้าน(HI)

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมพร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวและผู้ป่วยที่รักษาที่บ้าน(HI)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เยี่ยมพร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวและผู้ป่วยที่รักษาที่บ้าน(HI) โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวและผู้ป่วยที่รักษาที่บ้าน(HI) ได้รับการเยี่ยม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 1 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้สรุปผลโครงการ จำนวน 1 โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>