กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เวียงเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เวียงเหนือ

โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา)

1. นายวิเชียร ศรีสังขาล
2. นายสมัย อดทน
3. นายสุเนตร อัศวเมธาพันธ์
4. นายจิรทีปต์ ศรีสวัสดิ์
5. นางสาวณธรา มีแววแสง
6. นางสาวกนกวรรณ วรรณทวี
7. นางสาวกาญจนา คมใส

โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

45.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โรงเรียน ในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

50.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โรงเรียน ในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

50.00

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ได้อย่างสงบสุข มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เด็กระดับมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กมักจะชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และการที่เด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสมนั้น ช่วยส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตของระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และระบบข้อต่อของร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด การควบคุมน้ำหนักรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพจิต การออกกำลังกายจึงเป็นกิจกรรมทางกายอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กระดับมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาในด้านร่างกาย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงที่เหมาะสมกับวัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ดังนั้น โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กระดับมัธยมศึกษามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะสมกับวัย และปลูกฝังนิสัยรักการออกกำลังกาย เพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับประเทศต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

45.00 55.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 60.00
3 เพิ่มพื้นที่ของโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

สัดส่วนพื้นที่ของโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 64
กลุ่มวัยทำงาน 6
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกแกนนำในการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินโครงการและวางแผนดำเนินงานค่าใช้จ่ายงบประมาณ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย รพ.สต. อปท. ครู บุคลากร
ผู้นำออกกำลังกาย ตัวแทนแกนนำนักเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน
รายละเอียดงบประมาณ :
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 525 บาท รวมเป็นเงิน 525 บาท (ห้าร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 12 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)  มีคณะทำงาน แกนนำนักเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เข้าร่วมรับทราบวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการฯ ผลลัพธ์ (Outcome)  เกิดกลไกขับเคลื่อนคณะทำงาน แกนนำนักเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกกำลังกายด้วยฮูล่าฮูป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกายด้วยฮูล่าฮูป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม : จัดกิจกรรมการออกกำลังกายให้นักเรียนในตอนเช้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ทุกวันอังคารของสัปดาห์ ระยะเวลา 2 เดือน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 64 คน และกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 6 คน
รายละเอียดงบประมาณ : 1. จัดซื้อฮูล่าฮูป จำนวน 70 ชุด ชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท 2. ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย จำนวน 2 คน เหมาจ่าย 2 เดือน เป็นเงิน 4000 บาท รวมเป็นเงิน 18,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คนได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยฮูล่าฮูป ผลลัพธ์ (Outcome)   เกิดการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลความสำเร็จของโครงการจากจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน มีการขยับร่างกายออกกำลังกายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,525.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ในตำบล มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น
2.ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ในตำบล มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น
3.มีการใช้ประโยชน์ของของโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
เพิ่มมากขึ้น
4.มีคนที่ออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น


>