กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นางสาวนัรกีส ยะปา โทร 083-7502735

ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 96120

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพและคุณภาพงานเต็มที่ และการมีสุขภาพที่ดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การดำรงชีวิตในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหามลพิษต่างๆ มากมาย รวมทั้งผลกระทบจากสิ่งมีพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว การหลบซ่อนของอาการบางอย่างที่ยังไม่แสดงออกมาให้เห็น หรือเมื่อทราบก็สายเกินกว่าจะแก้ไขเสียแล้ว การตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวัง จึงเป็นการตรวจตั้งแต่ผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีเพียงอาการผิดปกติเล็กน้อยไม่ชัดเจน ดังนั้น การตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังถือว่าเป็นการตรวจเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะทำให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความรุนแรงของโรคหรือความพิการที่อาจเกิดขึ้นในบางโรคได้ ตลอดจนสามารถให้การรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรที่มีลักษณะการทำงานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อ ทั้งจากคนและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน รวมถึงความเสี่ยงจากท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม เช่น พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย พนักงานงานดูดสิ่งปฏิกูล พนักงานกวาดขยะ พนักงานฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุง และพนักงานศูนย์บริการ เป็นต้น ซึ่งพนักงานเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อด้วยวิธีการสัมผัสสารเคมีอันตราย หรือเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่ติดมากับขยะมูลฝอย และจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของตนเอง และครอบครัว
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัจจัยความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เน้นการป้องกันอันตราย และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนในกลุ่มเสี่ยง ด้วยวิธีการอบรมให้ความรู้ตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการตรวจสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังโรคที่อาจจะเกิดขึ้น และดำเนินการป้องกัน รักษาได้ทันท่วงที นำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชนตามเป้าหมาย “เมืองไทยสุขภาพดี” เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรม และเฝ้าระวังสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรค และอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน

พนักงานจ้างมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และไม่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน

50.00 80.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึก เฝ้าระวังสภาวะสุขภาพของพนักงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน

พนักงานจ้างมีการปรับเปลี่ยนสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 130
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันสุขภาพตนเองจากการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันสุขภาพตนเองจากการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำโครงการ และเสนอโครงการ
  • ติดต่อประสานวิทยากรดำเนินการอบรม
  • ติดต่อประสานโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการตรวจสุขภาพ
  • ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ
  • ดำเนินการทดสอบความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานก่อนอบรม
  • ดำเนินการอบรมและตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
  • ติดตามประเมินผลโครงการหลังการอบรม
  • สรุปผลโครงการและรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
    รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้
  • ค่าอาหารกลางวัน 130 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 130 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม เป็นเงิน 7,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พนักงานจ้างมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และไม่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 130 คน x 200 บาท เป็นเงิน 26,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พนักงานจ้างมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 พนักงานฯ มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคและอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานเพิ่มขึ้น
2 พนักงานฯ มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน
3 พนักงานฯ รับทราบสภาวะสุขภาพของตัวเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น


>