กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกาย สบายชีวี เพิ่มกิจรรมทางกายในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านสวน

1.จุฑามาศ สังข์หยู 0623864805
2.เพลินพิศ ขุนเศรษฐ์
3.สุมาลี สมประสงค์
4.สุภาวดี กำแหงเดช
5.สาลี เรืองเพชร

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านสวนลานออกกำลังกายโรงเรียนวัดออนศาลา ม.8 ต.มะกอกเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.51
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

54.23
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

54.51

ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านสวนมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข โดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิค เดินปั่นจักรยาน เต้นบาสโลป เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียกว่าเต้นแอโรบิค เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

54.23 65.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.51 56.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

54.51 64.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/02/2022

กำหนดเสร็จ 10/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเพื่่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการและหาแกนนำออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการและหาแกนนำออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมแกนนำกิจกรรมทางกายและเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายและแกนนำที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน10คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแกนนำออกกำลัง 2.มีการประชุมร่วมกัน1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินสุขภาพก่อนออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินสุขภาพก่อนออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย 1.ประเมิน น้ำหนัก/ส่วนสูง/ดัชนีมวลกาย /รอบเอว/ความดันโลหิต(ก่อนการออกกำลังกาย ) ช่วง21 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 2.ประเมิน น้ำหนัก/ส่วนสูง/ดัชนีมวลกาย /รอบเอว/ความดันโลหิต (รอบ 3 เดือน ) ช่วง 1 - 31พฤษภาคม 2565 3.ประเมิน น้ำหนัก/ส่วนสูง/ดัชนีมวลกาย /รอบเอว/ความดันโลหิต (รอบ 7 เดือน )ช่วง 1 - 10 กันยายน 2565

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีผู้เข้าร่วมประเมินสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมออกกำลังกายตามโครงการ 3 รูปแบบ ประเมินสุขภาพ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อครบระยะเวลา 3 เดือน ครั้งที่ 2เมื่อสิ้นสุดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกายตามโครงการ 3 รูปแบบ ประเมินสุขภาพ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อครบระยะเวลา 3 เดือน ครั้งที่ 2เมื่อสิ้นสุดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกาย ตามรูปแบบที่กำหนด แอโรบิก บาสโลบ เดิน ปั่นจักรยาน
ต้นบาสโลบและแอโรบิกทุกวัน วันละ 30นาที ตั้งแต่เวลา 18.30 -19.00 จำนวน 200คน -ปั่นจักรยานทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง เวลา 06.00 -07.00 น. จำนวน 30 คน -เดินออกกำลังกายทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง เวลา 05.00 -06.00 น. จำนวน 170 คน -ค่าน้ำดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ที่ร่วมโครงการเหมาจ่าย ตลอดโครงการระยะเวลา 7 เดือน เป็นเงินจำนวน 8,000 บาท
-ค่าสมุดบันทึก จำนวน 50 คน จำนวนเล่มละ 40 บาท เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท -ค่าเครื่องเสียงและติดตั้งเครื่องเสียงในกิจกรรมออกกำลังกายจำนวน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 8 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2565 ถึง 10 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นร้อยละ 35

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
2.มีแกนนำกิจกรรมทางกายในชุมชนจำนวน10คน


>