กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน โรงเรียนวัดป่าตอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงเรียนวัดป่าตอ

นางจิรภา บุญแข

โรงเรียนวัดป่าตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

55.07
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน ( 4 ปีขึ้นไป) ที่่เป็นเหา

 

56.52
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน ( 4 ปีขึ้นไป ) ที่ยังไม่รู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

72.46

เนื่องด้วยโรงเรียนวัดป่าตอ จำเป็นต้องดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน จากการสำรวจพบว่า นักเรียนในวัยเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีปัญหาด้านการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำนวน 9 คน / เป็นเหา จำนวน 29 คน ดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นจะต้องมียาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเบื้องต้นได้
การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนวัดป่าตอ จึงตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้นักเรียนได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้ นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค และสนุกสนานกับการออกกำลังด้วยกีฬาประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมด้านสุขภาพตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเป็นเหาของเด็กวัยเรียน

ร้อยละของเด็กวัยเรียน ( 4 ปีขึ้นไป) ที่่เป็นเหา

57.00 40.00
2 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

55.07 40.00
3 เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ร้อยละของเด็กวัยเรียน ( 4 ปีขึ้นไป ) ที่ยังไม่รู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

72.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 69
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามฐานต่างๆ ดังนี้
- ฐานที่1 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ฐานที่2 การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก
- ฐานที่3 รู้ทันโรคป้องกันภัยใกล้ตัว
- ฐานที่4 ส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี
- ฐานที่5 สมุนไพรไทย (กำจัดเหาด้วยสมุนไพร)
- ฐานที่6 การทำน้ำยาล้างจาน
มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4=500 บาท
- ค่าวิทยากร จำนวน 3 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600= 3,600 บาท
- อาหารมื้อกลางวัน 1 มื้อ 76x50 = 3,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท จำนวน 76 x 1 มื้อ = 1,900 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ = 635 บาท
(ใช้ในการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 )
1. สำสี1 ถุง ๆละ 50= 50 บาท
2. แอลกอฮอล์ 1 ขวดๆละ 100= 100 บาท
3. น้ำมันมวย 1 ขวดๆละ 100= 100 บาท
4. ผ้าก๊อช 1 กล่องๆละ 120= 120 บาท
5. เบตาดีน 1 ขวดๆละ 45= 45 บาท
6. ครีมทาบรรเทาปวด 1 หลอดๆละ 80 = 80 บาท
7. น้ำเกลือล้างแผล 1 ขวดๆละ 50= 50 บาท
8. ทิงเจอร์ 1 ขวดๆละ 50= 50 บาท
9.แซมบัค 1 ตลับๆละ 40= 40 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2565 ถึง 16 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต นักเรียนได้รับความรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผลลัพธ์ นักเรียนมีความรู้ จำนวน 69 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10435.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดห้องพยาบาลพร้อมเวชภัณฑ์ยา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดห้องพยาบาลพร้อมเวชภัณฑ์ยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดห้องพยาบาลพร้อมให้บริการแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 7 ชุด ชุดละ 1,000 บาท = 7,000 บาท
- จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 ตัวๆละ 590 บาท
- จัดซื้อที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 อันๆละ 1,600 บาท
- ตู้เก็บยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ จำนวน 1 ตัวๆละ 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตนักเรียนได้เรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผลลัพธ์นักเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย 69 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11690.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้เรียนรู้ด้านสุขภาพตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. มีมุมอนามัย
3. ห้องพยาบาลพร้อมให้บริการแก่ผู้เรียนและบุคลากรในโรงเรียน
4. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีความสามัคคีเป็นหมู่คณะ


>