กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ

1.นายมะยีดีสาและ
2.นายมะเปาซีหะมะ
3.นายอับดุลการี ยูโซะ
4.นางสาวอาภรณ์แซ่เซียว
5.นางสาวแอเสาะเจะสะ

ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยคือเด็กที่มีอายุ 2 ถึง 5 ปี การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้ให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ 3 ด้านการพึ่งพาพ่อแม่และผู้ใหญ่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตรายหากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิดอบรมเลี้ยงดูโดยความเข้าใจ เด็กพร้อมจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยที่เหมาะสมให้สมดุลกันทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรงแจ่มใสมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไปให้เป็นคนเก่งคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2 ถึง 5 ปี เป็นวัยที่ถือว่า "วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ" ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยทารกก้าวสู่ความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ สังคมที่กว้างออกไปจากครอบครัว เราจึงควรเข้าใจในพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก เช่น ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และสังคม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกวิธี อันจะช่วยให้เด็กเกิดการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปฏิบัติจริง และเกิดความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖5 จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ปกครอง และครูให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน
  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ปกครอง และครูให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ร้อยละ 90
28.00 35.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ ได้รับการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
  1. เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ ได้รับการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย ร้อยละ 90
28.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 28
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 28 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,680 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม 25 คน มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.5 ตาราง เมตร X 250 บาท เป็นเงิน  750 บาท
  5. ค่าเอกสารประกอบการอบรม 28 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 280 บาท
  6. สมุด 28 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 280 บาท
  7. ปากกา 28 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 140 บาท
  8. ค่ากระเป๋าพร้อมสกรีน จำนวน 28 คน ใบละ 75 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10230.00

กิจกรรมที่ 2 2. ฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยให้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการพัฒนาการของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
2. ฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยให้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการพัฒนาการของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. ส่งเสริมให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย

ชื่อกิจกรรม
3. ส่งเสริมให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,230.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบองอจูโวะ ได้รับการส่งเสริมและคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย อย่างน้อยร้อยละ 100
2. ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ปกครอง และครูมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก ร้อยละ 100


>