กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

กลุ่ม อสม.ตำบลสุคิริน

นางกรณัทสายแวว
นางเตือนใจทองบุญ
นายอนันต์เพ็ชรภาน
นางมาลีคงนวน
นางจีราพรเต็มภูมิ

บ้านสันติ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควรประกอบกับประชาชนส่วนใหญไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยจึงทำให้เกิดโรคติดต่ออาจมีการติดเชื้อทางอาหารและน้ำเช่นโรคอุจจาระร่วงบิดอาหารเป็นพิษไทฟอยด์และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรคเช่นโรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีสปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้านเช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคกระจายอยู่ทั่วไปประกอบกับหน้าฝนถ้าชุมชนไม่มีความตระหนักและช่วยกันดูแลมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่นำโดยแมลงตามมาเช่นโรคไข้เลือดออก โรคเลปโตสไปโรซีส นอกจากจะเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้วยังมีโรคติดต่อขึ้นมาใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตการรับประทานอาหารและความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่างๆในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับโรคติดต่ออุบัติซ้ำเช่นโรคไข้เลือดออกโรคชิคุนกุนยาซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคโรคติดต่ออุบัติใหม่เช่นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเช่นที่มีโรคเรี้อรัง เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ทางกลุ่ม อสม.ตำบลสุคิรินได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิรินได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.คนในชุมชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถดูแลตัวเอง และป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อต่างๆได้

คนในชุมชนสามารถดูแลตนเอง และป้องกันตนเองจากโรคระบาดต่างๆได้ เช่นโควิด-19 ไข้เลือดออก

50.00 100.00
2 2. เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

โรคติดต่อในชุมชนลดลง

50.00 100.00

1.เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเองในเรื่องโรคติดต่อให้กับประชาชนในชุมชน
2. เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในปัจจุบัน คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อต่างๆให้กับประชาชนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในปัจจุบัน คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อต่างๆให้กับประชาชนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน50คนX50บาทX1มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน50คนX25บาทX1มื้อ เป็นเงิน 1,250บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อจำนวน1คนX300X3ชั่วโมง เป็นเงิน900บาท
-ค่าป้ายไวนิลการดำเนินโครงการขนาด กว้าง1.2 ม.Xยาว2.4 ม.เป็นเงิน720บาท
-ค่าถุงผ้า จำนวน50ใบX50บาท เป็นเงิน 2,500บาท
-ค่าปากกา จำนวน50ด้ามX10บาท เป็นเงิน500บาท
-ค่าสมุด จำนวน50เล่มX15บาท เป็นเงิน 750บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 300บาท รวมเป็นเงิน 9,420บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 1 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคระบาด และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อต่างๆได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9420.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม Big Cleaning day เดือนละ 1 ครั้ง (มีนาคม 2565-กันยายน 2565)

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม Big Cleaning day เดือนละ 1 ครั้ง (มีนาคม 2565-กันยายน 2565)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30คนX25บาทX7เดือน เป็นเงิน 5,250บาท -ค่าอุปกรณ์ในการทำความสะอาด เป็นเงิน 2,000บาท -ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำบรรจุซองชา 50 g จำนวน 500 ซอง เป็นเงิน 3,000บาท รวมเป็นเงิน10,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

Big Cleaning day ทุกเดือนลดโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้นชุมชนทำให้ไม่มีโรคระบาดเกิดขึ้น ประชาชนปลอดภัยจากโรคระบาดต่างๆเช่นไข้เลือดออก ฉี่หนู

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,670.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คนในชุมชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถดูแลตัวเอง และป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อต่างๆได้
2.ลดการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนและลดอัตราการป่วยของคนในชุมชนได้


>