กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสู้โควิด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ โควิด-19ในเด็กไทย (อายุ 0-18 ปี) ตั้งแต่มีการระบาด ระลอกใหม่ 1 เมษายน- 11 สิงหาคม 2564 (สัปดาห์ที่ 15-33) เด็กติดเชื้อ สะสม 91,906 ราย (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) จะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19)ตั้งแต่ ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลก 205,579,907 ราย และมีผู้เสียชีวิต 4,377,828 ราย ตามข้อมูลวันที่ 12 สิงหาคม 2561 การระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งมีความรุนแรงและรวดเร็วจากสายพันธุ์เดลต้าที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดียกำลังกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยการระบาดระลอกที่ 3 ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2564 จนถึง 12 สิงหาคม 2564 มีความรุนแรงทำให้ มีผู้ติดเชื้อสะสมถึง 810,908 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 6,849ราย จากการระบาดที่เกิดขึ้นในชุมชนและครอบครัวทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่มา : ทีม SATCOVID- 19 กรมควบคุมโรค 11 สิงหาคม 2564
โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการแพร่ระบาดของโรคมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดพัทลุง ก็ยังไม่สงบและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการระบาดระลอกใหม่นี้เชื้อโรคมีความสามารถในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก กระจายออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว สถานการณ์ดังกล่าวอาจกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน
ดังนั้น โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆจึงได้ถือโอกาสจัดโครงการ“ หนูน้อยสู้โควิด”ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) รู้เท่าทันภัยของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) และรู้ถึงสถานการณ์สามารถการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการสนองต่อนโยบายรัฐบาล ในการนำสังคมไทยไปสู่ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)ได้อย่างเข้มแข็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

 

0.00
2 เพื่อสร้างผู้นำนักเรียนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในสถานศึกษา

 

0.00
3 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการนำสังคมไทยไปสู่ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายและจิตใจให้กับนักเรียนไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด1.5X 2ฟุตจำนวน 9แผ่น ราคา แผ่นละ 190บาท เป็นเงิน 1,710 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1710.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกัน การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 )

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกัน การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกัน จำนวน 3ชุดX 6,034 บาท รวมเป็นเงิน 18,102 บาท ( เครื่องวัดอุณหภูมิ,เครื่องพ่นแอลกอฮอล์ชนิดน้ำอัตโนมัติ ,น้ำยาล้างมือ,เจลล้างมือ,ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค ,แอลกอฮอล์ ,หน้ากากอนามัย) ค่าเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ 188 บาท รวม 18,290 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18290.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและผู้ปกครองรับรู้และทราบถึงโทษของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถเป็นแกนนำในการ สาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกัน การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
3.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้มาป้องกันตนเองและคนรอบข้างจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม


>