กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลสุคิริน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก

หมู่ 2 บ้านสว.นอก หมู่ 8 บ้านราษฎร์ผดุง หมู่ 11 บ้านซอยปราจีน ตำบลสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการแพร่ระบาดในวงกว้างไปทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศสำหรับประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างกว้างขวาง รุนแรงและต่อเนื่อง ทั้งด้านสุขภาพ ระบบบริการสาธารณสุข เศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงของประเทศศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา COVID-19 ทุกระดับ มีการบริหารจัดการทรัพยากรภายใต้ข้อจำกัดและขาดแคลน โดยพิจารณาอย่างรอบด้านทุกมิติและประสานเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การคิดมาตรการและข้อเสนอเชิงนโยบายในการปกป้องสุขภาพคนไทยทุกคน ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้นตามลำดับ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยถือได้ว่าสามารถบริหารจัดการวิกฤติโควิค – 19 ได้อย่างดีจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
การใช้แนวทางมาตรการการป้องกันควบคุมโรค เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัส การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 80 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นเกราะป้องกัน ในการลดความรุนแรงของโรค การเฝ้าระวังป้องกันโรค COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการฉีดวัคซีนและการดูแลเฝ้าระวัง การปฏิบัติตนอย่างเข็มงวด ด้วยมาตรการส่วนบุคคล มาตรการสำหรับองค์กร(COVID Free Setting) และ Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และการควบคุมป้องกันโรคพื้นที่ตำบลสุคิริน จำนวน 3 หมู่บ้าน (หมู่ 2 บ้านสว.นอก หมู่ 8 บ้านราษฎร์ผดุง หมู่ 11 บ้านซอยปราจีน)ประชากร จำนวน 959 คน มีจำนวน 235 หลังคาเรือน จากสถานการณ์โรคโควิด–19 (ในเขตรับผิดชอบ)ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 21 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงกักตัวที่ HQ จำนวน 146 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว ร้อยละ 98.72ดังนั้น เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคโควิด –19ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลสุคิริน จึงจำเป็นต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ตามแผนและแนวทางการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าบุคคลทั่วไป การเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน นำมาตรการส่วนบุคคล มาตรการสำหรับองค์กร มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรค COVID-19 และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ในแบบวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างปกติสุข ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ไม่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่

21.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถป้องกัน ดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 80

627.00 80.00
3 เพื่อเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

บุคคลในครอบครัว ชุมชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ

627.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 52
กลุ่มวัยทำงาน 362
กลุ่มผู้สูงอายุ 173
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 3
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 37
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19

ชื่อกิจกรรม
การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา 19แยกตามกลุ่มเป้าหมาย รายหมู่บ้าน -กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปผู้มีโรคประจำตัว 7 โรคหญิงตั้งครรภ์ อายุ 12-18 ปี19-59 ปี 2.วิเคราะห์ข้อมูล จำแนกชนิดวัคซีน จำนวนที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน เข็ม 1เข็ม 2 เข็ม 3 และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 3.บริหารจัดการวัคซีนจัดทำแผนการฉีดวัคซีน (เข็ม 1และเข็มกระตุ้น)
4.สื่อสาร ประชาสัมพันธ์วัน เวลา สถานที่ ฉีดวัคซีน
5.เดินเคาะประตูบ้าน เพื่อเชิญชวนติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มาฉีดวัคซีนตามแผน งบประมาณ 1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม/ค่าอาหารกลางวันอสม.ที่มาช่วยงานฉีดวัคซีน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.จำนวน15คน x 25 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,500บาท -ค่าอาหารกลางวัน อสม.จำนวน15คน x 50 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,000บาท 2.ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้มาฉีดวัคซีน ขนาด 350 ml จำนวน 60 โหล x 40บาท เป็นเงิน 2,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19 ครอบคลุมตามแผน มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

กิจกรรมที่ 2 สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคโควิค 19

ชื่อกิจกรรม
สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคโควิค 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้อสม.และเครือข่ายเพื่อให้สามารถไปดูแล แนะนำ ส่งเสริม ประชาชนในชุมชนให้มีความเข้าใจใน มาตรการ การควบคุมป้องกันโรค สามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพดังนี้ -มาตรการส่วนบุคคล Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล) -มาตรการสำหรับองค์กร(COVID Free Setting) ที่เกี่ยวข้อง (วัด สำนักสงฆ์ ตลาดนัด ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร) 2.ให้ความรู้ “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยสมุนไพรไทย 3.จัดทำป้ายโฟมบอร์ด “มาตรการ” เพื่อใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนและเครือข่าย 4.จัดซื้อวัสดุควบคุมป้องกันโรคเพื่อสนับสนุนเครือข่ายให้ดำเนินการปฏิบัติตามแนวทางมาตรการป้องกันโรค ส่วนบุคคลและพื้นที่ COVID Free Setting (อสม. หมู่บ้าน วัดสำนักสงฆ์) งบประมาณ 1.ค่าเครื่องดื่ม อาหารว่าง วันประชุม อสม. -ค่าอาหารว่าง อสม.จำนวน22คน x 25 บาท x 1 ครั้งเป็นเงิน 550บาท 2.ค่าจ้างเหมาทำป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ “มาตรการ” จำนวน2ป้าย
-ป้ายฯ DMHTTA ขนาด 65 x 120 ซม.จำนวน 1 ป้ายx 500 บาท เป็นเงิน500บาท -ป้ายฯ มาตรการส่วนบุคคล Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล) ขนาด 65 x 120 ซม.จำนวน 1 ป้ายx 500 บาทเป็นเงิน 500บาท 3.ค่าวัสดุควบคุม ป้องกันโรค -แอลกอฮอล์ 75% สำหรับล้างมือ ขนาด 450 ml จำนวน 50 ขวด x 70 บาท เป็นเงิน3,500 บาท -แอลกอฮอล์ 75% ขนาด 5ลิตร จำนวน 10 แกลลอน x 350 บาท เป็นเงิน3,500 บาท
- ถุงมือยางจำนวน 12 กล่อง x 200 บาทเป็นเงิน2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีป้ายประชาสัมพันธ์ สำหรับใช้เป็นสื่อในการให้ความรู้ การป้องกันดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิค 19แก่ประชาชนและเครือข่ายในพื้นที่
2.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำมาตรการ การควบคุมป้องกันโรคไปปฏิบัติในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 3.ประชาชนมีความรู้และมีแนวทางการป้องกันโรคโควิค 19 ด้วยสมุนไพรไทย 3.ประชาชนและเครือข่ายในชุมชน มีเครื่องมือและวัสดุพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 3 เสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

ชื่อกิจกรรม
เสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ในการออกมาตรการทางสังคม เพื่อออกกฎระเบียบ เชิงบังคับในการเข้ารับบริการในสถานที่ชุมชน ดังนี้ -งดบริการสำหรับบุคคลไม่ปฏิบัติตามมาตรการ สำหรับการเข้ารับบริการในที่สาธารณะ หน่วยงานราชการ
-การปรับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะ วัด สำนักสงฆ์ ตลาดนัด ร้านชำ ให้เป็นพื้นที่ COVID Free Setting

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการ ในการดูแลตนเองป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค โควิค 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการส่วน
บุคคล มาตรการสำหรับองค์กร มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค COVID-19 สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ในแบบวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างปกติสุข
2.ไม่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่


>