กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นางสาวณัฐจรีย์ เดชาสันติ
(ตำแหน่งสัตวแพทย์ปฎิบัติงาน)
(เบอร์โทร 090-2181610)

เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะต้องตายทุกคน ซึ่งโรคนี้จะมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นสุนัข แมว หนู เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคนั้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้ และสัตว์ที่เป็นโรค ก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือน มีนาคม – มิถุนายน ของทุกปี โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัดหรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมวและสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการป้องกันโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเห็นความสำคัญของการดำเนินงานอบรมและรณรงค์ให้ความรู้ ให้แก่ นักเรียนเยาวชนในพื้นที่ ในเรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนที่มี สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีอยู่ในความดูแลหันมาตระหนักถึงปัญหาของโรคดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียน ลดความเสี่ยงของการถูก สุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและ ป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้และมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป ด้วยเหตุนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงกำหนดจัดกิจกรรมโครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยการสังเกตพฤติกรรมและการตอบคำถาม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างถูกวิธีปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า

ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า สามารถดูแลสัตว์เลี้ยง และตนเองให้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างถูกวิธี จากการตอบแบบประเมิน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 105
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- แกนนำนักเรียนโรงเรียนละ 15 คน ในเขตเทศบาล 7 โรงเรียน (ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) จำนวน 105 คน
- คณะทำงาน 15 คน
รวม 120 คน
รายละเอีดกิจกรรม ดังนี้
1.จัดทำโครงการเพื่อของบประมาณ
2.ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
3.ทำหนังสือเชิญตัวแทนแกนนำนักเรียนโรงเรียนละ 15 คน ในเขตเทศบาล 7 โรงเรียน (ในช่วงชั้นประฐมศึกษาปีที่ 6 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1)
4.จัดเตรียม/จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้มีความพร้อม
5.ดำเนินงานตามโครงการ
5.1 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หัวข้อดังนี้
-ทำแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเริ่มการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
-โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร
-สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน
-สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการอย่างไร
-ประเภทสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค
-คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใด
-อาการของคนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
-ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้ากัด
-วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
5.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังการอบรมรณ์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซักถาม ตอบคำถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
- ทำแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ หลังการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
6.ติดตามและประเมินผลโครงการ
7.สรุปและรายงานผลโครงการ
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 120 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าอาหารกลางงวัน 50 บาท x 120 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าไวนิลโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าจัดซื้อวัสดุอุกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม เป็นเงิน1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2565 ถึง 4 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความตื่นตัวและกระตุ้นให้มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการนำสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในความดูแลไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักรับทราบถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างถูกวิธีปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า


>