กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสึไหงโก-ลก

นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ปี ๒๕๖๔ประชากรไทยที่อายุ ๖0 ปีขึ้นไป จะมีมากถึงร้อยละ ๒0 เรียกว่าเป็น " สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" และจะเป็น " สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" จึงคลาดว่าในปี ๒๕๗๔ เมื่อประชากรสูงอายุเพิ่มเป็น ร้อยละ ๒8 ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่า ผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีภาวะอ้วน และโรคหลอดเลือดสมอง) ร้อยละ ๑๘ - ๕๓ และมีภาวะถดถอยของสมรรถนะทางร่างกาย (โรคต้อกระจก ระบบบดเคี้ยว การได้ยิน และสายตา)ร้อยละ ๒๒.๓ - ๕๒ ในขณะที่ลักษณะการอยู่อาศัยของครอบครัวไทย ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับคู่สมรส หรืออยู่ตามลำพังคนเดียว มีจำนวนมากขึ้นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ ๘0 ปีขึ้นไป) มีมากถึงร้อยละ ๒๕ ที่ต้องการการดูแลปรนนิบัติ แต่มีผู้สูงอายุที่ต้องการดูแล แต่ไม่สามารถมีผู้ดูแลได้ เป็นสัดส่วนมากถึง ร้อยละ ๔ ของผู้สูงอายุวัยปลายทั้งหมด จากสถานการณ์ และแนวโน้มของสัดส่วนผู้สูงอายุ และความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมระบบการดูแลสุขภาพของประชากรผู้สูงอายุ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ด้านการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และสนับสนุนให้จัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์พัฒนา และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการ ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง และกำกับ หรือดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ (ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕60)
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก พบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2562คนปี พ. ศ. 2563 คน พ.ศ. 2564คน และมีในกลุ่มผู้สูงอายุมีติดบ้านติดเตียง ปี 2564จำนวน88 คนส่งผลให้ผู้สูงอายุบ้างกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ติดบ้านติดเตียงหลังจากกลับรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงขณะอยู่ที่บ้านบางรายนอนติดเตียงนานจึงทำให้เกิดภาวะ มีแผลกดทับ อักเสบรุนแรง ข้อติดแข็ง ตามร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องกลับไปรักษาตัวอีกครั้งในโรงพยาบาล และส่งผลกระทบต่อการเพิ่มของความต้องการค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิต แต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวเหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลงในด้านผู้พิการในชุมชน
ดังนั้นทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในวัยผู้สูงอายุและความรู้ทักษะ พื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริงรวมถึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนรวมของผู้ดูแลผู้สูงอายุและครอบครัว ตามนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ “อบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาล” ผู้จัดคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวอีกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ

 

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุ

 

0.00

1

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 29/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2565

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
จัดอบรมฟื้นฟูการดูแลผู้สูงอายุแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นระยะเวลา 2 วัน โดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 2 วันเป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 30 คน x 2 มื้อ x 2 วันเป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ในการอบรม 30 คน x 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
5. ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ส่งเสริมผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ
2. ส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
3. ส่งเสริมผู้ดูแลมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุ


>