กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพจิต พิชิตโรคซึมเศร้า ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ

1. นายถาวร สุวรรณเรืองศรี

2. นางสาวรุ่งนภา อุสมา

3. นางฮิจยาระ บากา

4. นางสาวพิชยา ดำสนิท

5. นางสาวจิตรา มะสันต์

พื้นที่ตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2564 ไทยมีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 12 ล้านคนหรือคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 6ของประชากรไทย ถือเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ไทยก็ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดของคนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีจำนวนการเกิดเพียงประมาณ 6 แสนคนต่อปี ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปแล้วนอกจากจำนวนประชากรไทยโดยรวมจะเริ่มลดลงแล้วไทยจะขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Hyper Aged Society) ซึ่งมีสัดส่วนประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีถึงร้อยละ 20 หรือมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีกว่าร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2584
โครงสร้างประชากรของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลปากน้ำ พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2564 ตำบลปากน้ำมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 11,192 คน จำนวนผุสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,548 คน คิดเป็นร้อยละ 13.83 ของประชากรทั้งหมด (สถิติทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564)
วัยผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันเชื่อว่าทุกบ้านต้องมีผู้สูงอายุหรือผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีความอ่อนไหวมากขึ้นจากเดิม ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างมากขึ้น เมื่อสิ่งเหล่านี้เขาได้รับไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตขึ้นมาได้ นั่นคือ โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุและโรควิตกกังวลในผู้สูงอายุ ซึ่งอาการเศร้าจะมีตั้งแต่เศร้าเล็กน้อย ไปถึงรุนแรงมากจนมีอาการจิตเวชร่วมด้วย แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือกลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้าแต่ไม่แสดงอาการ หากมีการถูกปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นคนในครอบครัวต้องคอยสังเกตอาการ รู้ถึงสาเหตุและทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มาก เพื่อให้คนที่เรารักผ่านพ้นโรคนี้ไปให้ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 มีทักษะและการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพได้

140.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 95 มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม

140.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์ ลดอาการซึมเศร้าและมีสุขภาพจิตที่ดี

ผุู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นและไม่เป็นโรคซึมเศร้า

140.00
4 4.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรม/ฝึกทักษะร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ100 ฝึกปฏิบัติและทำกิจกรรมร่วมกัน

140.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 140
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้ง ชี้แจงคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจ วางแผนการปฏิบัติงานกำหนดกิจกรรม
โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงินเป็นเงิน 700.- บาท

กำหนดการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 (เตรียมความพร้อม)

08.30 น - 09.00 น คณะทำงานลงทะเบียน

09.00 น - 12.00 น ประธานคณะทำงานชี้แจงการจัดทำโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจการทำงาน คณะทำงานร่วมวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดกิจกรรมหน้าที่ความรับผิดชอบ

12.00 น ปิดการประชุม

หมายเหตุ รับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนการดำเนินงานทำกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 42 ชั่วโมง เป็นเงิน 25,200 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 25 คน คนละ 35 บาท จำวน 14 มื้อเป็นเงิน 12,250 บาท

3.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 25 คน คนละ 100 บาท จำวน 7 มื้อเป็นเงิน 17,500 บาท

4.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 10,000 บาท

5.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ป้ายๆละ 432 บาท เป็นเงิน 432 บาท

6.ค่าเช่าเหมาเรือ (ไปเกาะบุโหลน) จำนวน 1 วันๆละ 15,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 77,382 บาท

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

กำหนดการอบรม จำนวน 7 วันๆละ 1 หมู่บ้าน

08.00 น - 08.30 น ลงทะเบียน ตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิ

08.30 น- 09.00 น พิธีเปิดโครงการ บรรยายพิเศษการรับมือปัญหาสุขภาพ(โรคระบาด)สำหรับผู้สูงอายุโดยประธานเปิดพิธี

09.00 น - 12.00 น บรรยายในหัวข้ออาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูสุขภาพโดยวิทยาการ

12.00 น - 13.00 น รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น - 16.00 น บรรยายในหัวข้อโรคเรื้อรัง ภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และฝึกทักษะประดิษฐ์สิ่งของเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โดยวิทยากร

หมายเหตุรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30 น และ14.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้จากการทำกิจกรรมโครงการและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80382.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ เพื่อจะทำให้การปฏิบัติตามโครงการครั้งต่อไป สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงินเป็นเงิน 700.- บาท

กำหนดการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการดำเนินงาน)

08.30 น - 09.00 น คณะทำงานลงทะเบียน

09.00 น - 12.00 น ประธานคณะทำงานสรุปผลการดำเนินที่ผ่านมา คณะทำงานระดมความคิดเห็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน และจัดทำข้อเสนอแนะ

12.00 น ปิดการประชุม

หมายเหตุ รับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการดำเนินการและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 81,782.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี
ผู้สูงอายุสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>