กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หมู่บ้านเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เชิงรุก หมู่ที่7

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่7 บ้านนาข่าใต้ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

1.นายกริยา แดงหลัง
2.นาย นเรศ ดินเตบ
3.นาย ดันยะหยา เกื้อหลี
4.นาย รอสลี เหร็มเหมาะ
5.นางกูบีด๊ะ ไทรบุรี

ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรสโคโรนา2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งพบการระบาดทุกพื้นที่ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก กระจายไปยังทุกพื้นที่เป็นบริเวณกว้างจนยากที่จะควบคุมได้ ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ สังคมและเศรษฐกิจ ตัวเชื้อไวรัส Covid-19 มีการพัฒนากลายพันธุ์ตลอดเวลา ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง หรือบางรายอาจไม่เเสดงอาการ ปัจจุบันแม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้ที่มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มตนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัส แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันและควบคุมโรคให้หมดได้ 100%ได้
หมู่ที่7 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล มีประชากร 423 คน มีจำนวน122 หลังคาเรือน(ข้อมูลทะเบียนราษฎ์อำเภอละงู) ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 จากสถานการณ์โรคโควิดตำบลเขาขาว ณ วันที่ 4 มกราคม 2565 พบว่า ตำบลเขาขาวมีผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งเเต่เดือนเมษายน พ.ศ.2564 จำนวนจำนวน 233 ราย (ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 อำเภอละงู ณ วันที่ 4 มกราคม 2565)และมีเเนวโน้มการระบาดที่ไม่แน่นอนในอนาคต
คณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ที่ 7 ต.เขาขาว ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 เชิงรุกในหมู่บ้าน แก้ไขสถานการณ์โรตติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(Covid-19)ได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิมและปกติสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้านได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

ร้อยละของครัวเรือนได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้าน ได้อย่างรวดร็วและทันต่อเหตุการณ์

100.00 80.00
2 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ  ทั้งทางกาย จิต สังคมและปัญญาลดลง

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 423
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/01/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่คณะกรรมการและคณะทำงานของโครงการเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา๒o๑๙ เชิงรุกในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่คณะกรรมการและคณะทำงานของโครงการเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา๒o๑๙ เชิงรุกในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่งการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙เชิงรุกในหมู่บ้านในหัวข้อเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดชื้อไวรัสโคโรนาในหมุ่บ้าน มีการพ่นหรือใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดทั่วไป และกรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อในครัวเรือน การใช้ชุดPPE และวัสดุผ้องกันการติดเชื้ออื่นๆ การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะติดเชื้อในครัวเรือน/ชุมชน คณะกรรมการและคณะทำงานของโครงการจำนวน 20คน

  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน1,000 บาท

  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม(เช่นสมุดปากกาแฟ้มเอกสารเป็นต้น)คนละ 1 ชุดๆละ50 บาท จำนวน 20 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการ  คณะทำงานกนนำเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้าน/ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาและมีอัตราการติดเชื้อลดน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันโรดติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในบ้านตามจุดที่เหมาะสมน่าสนใจจำนวน2จุด

  • ค่าใช้จ่ายทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้านขนาด1.2 X 2.4 เมตรจำนวน2ป้ายป้ายละ500บาท เป็นเงิน1,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้าน  กระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ/ประชาชนตระหนักเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันโรค ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อในหมู่บ้านลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฆ่าเชื้อในครัวเรือนกรณีมีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้าน รวมถึงจุดเสี่ยงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฆ่าเชื้อในครัวเรือนกรณีมีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้าน รวมถึงจุดเสี่ยงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นยาฆ่าเชื้อในครัวเรือนกรณีมีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้านรวมถึงจุดเสี่ยงอื่นๆในชุมชน เช่น มัสยิด อาคารเอนกประสงค์เป็นต้น

  • ค่าซื้อถังพ่นยาขนาด 12 ลิตร แบบแบตเตอรี่ จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 1,500 บาท

  • ค่าซื้อถังพ่นยาขนาด 5 ลิตร แบบปั้มมือ จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 550 บาท

  • ค่าน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อ 5 ลิตร/แกลลอน จำนวน 2 แกลลอนๆ 1,250 เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าชุด PPE ชุดละ 200 บาทจำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าเฟชชิว อันละ 25 บาทจำนวน 30 อัน เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าแมสกล่องละ 100 บาท (50ชิ้น) จำนวน 50 กล่องเป็นเงิน 5,000 บาท

  • ค่าถุงมือยางกล่องละ 250 บาท(100 ชิ้น) จำนวน 10 กล่อง เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ถุงแดงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อจำนวน 12 แพค แพคละ 69 บาท เป็นเงิน 828 บาท

  • ถุงดำสำหรับขยะทั่วไปที่ใช้ในกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคจำนวน 5 แพค แพคละ 59 บาท เป็นเงิน 295 บาท

  • เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 Ml จำนวน 30 ขวด ขวดละ 120 เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือ 100 มล. จำนวน 20 ขวดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • รองเท้าบูทขนาดเบอร์10จำนวน 10 คู่ คู่ละ 280 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

  • ชุดตรวจ ATK จำนวน 30 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ปรอทวัดไข้ จำนวน 5 ชิ้น ชิ้นละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับการป้องกันควบคุมโรค  ประชาชนในหมู่บ้านที่ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง  ได้รับการป้องกันควบคุมโรค/ลดการแพร่กระจายของโรคติดชื้อในหมู่บ้านไม่ให้กระจายเป็นวงกว้าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30573.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่4 กิจกรรมคัดแยกขยะติดเชื้อในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่4 กิจกรรมคัดแยกขยะติดเชื้อในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการคัดแยกขยะติดเชื้อในชุมชนให้ถูกต้องเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

  • จัดซื้อถังขยะติดเชื้อขนาด 120 ลิตรจำนวน1 ถัง ถังละ1750 บาท เป็นเงิน 1750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีถังขยะติดเชื้อประจำหมู่บ้าน/ขยะติดเชื้อได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีลดการแพร่กระจายเชื้อโรคในหมู๋บ้านและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,023.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้านได้รวดเร็วและทันต่เหตุการณ์
2.ลดปัญหาครัวเรือนได้รับผลกระทบทางสุขภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจสังคมและปัญญา
3.อัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒o๑๙ ในหมู่บ้านลดลง
4.ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์กลับมาประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขต่อไป


>