กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านสะอาด ชุมชนน่ามอง ตำบลไร้ขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

งานสิ่งแวดล้อม ทต.อ่างทอง

พื้นที่เทศบาลตำบลอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติซึ่งหากประเทศชาติใดประชาชนมีสุขภาพดีย่อ
ส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจการปกครองเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำของโลกการที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง โรคระบบทางเดินหายใจวัณโรคเป็นต้นส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่ โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น
โรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วยบุคคลเชื้อโรค พาหนะนำโรค และ
สิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
เทศบาลตำบลอ่างทองมีความประสงค์จะจัดทำ “ โครงการหมู่บ้านสะอาดชุมชนน่ามอง ตำบลไร้ขยะ” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาดถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ตลอดจนอาศัยความร่วมมือและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ และไม่ทอดทิ้งกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาความสะอาดโดยการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการหมู่บ้านของตนเอง

ประชาชน  ผู้นำชุมชน มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

30.00 45.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน

บ้านเรือน  ชุมชนสะอาด  ถูกสุขลักษณะ

30.00 50.00
3 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

สภาพแวดล้อมบ้านเรือน ชุมชน มีความสะอาดสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย

40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 240
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย2.จัดการประกวดบ้านเรือน3. ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างวินัยให้แก่ประชาชน ในการมีส่วนร่วมและคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
1. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย2.จัดการประกวดบ้านเรือน3. ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างวินัยให้แก่ประชาชน ในการมีส่วนร่วมและคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าป้ายโครงการขนาด1.20x 2.40 ม.จำนวน๑ป้าย เป็นเงิน 500 บาท ๒. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม หมู่บ้านละ 30 คน x 25 บาท จำนวน8หมู่บ้านเป็นเงิน 7,000 บาท ๓. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน ๆ ละ ๓ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาท จำนวน 8 หมู่บ้าน เป็นเงิน 14,400 บาท ๔. ค่าอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเงิน2,500บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน ) หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้านเรือน หมู่บ้าน ในที่พักอาศัยของตนเองและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านเรือน ให้สะอาดถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. บ้านเรือนชุมชนสะอาดปราศจากขยะ
2. ประชาชนผู้นำชุมชน มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
4. สภาพแวดล้อมบ้านเรือน ชุมชน มีความสะอาดสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย


>