กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชน (เข้าสุนัต) ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

กองสวัสดิการสังคม อบต.ร่มไทร

ตำบลร่มไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรก ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯ ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การโกนขนในร่มผ้า การตัดเล็บ การถอนขนรักแร้ และการขลิบหนวด (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม) การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เพื่อความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ จากงานวิจัย พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมทั้งเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบฯ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล” (ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต” (ภาษามลายู) มักทำหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับบุคลากรทางการแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา พบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก (active bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อค และการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี
ดังนั้น กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ และทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบปราศจากเชื้อ จึงได้จัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชน (เข้าสุนัต) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร อย่างถูกหลักทางการแพทย์ เพื่อลดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (active bleeding)

ผู้รับบริการ ไม่เกิดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (active bleeding) ภายหลังการรับบริการ ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับบริการตามเป้าหมายร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อรณรงค์ สร้างความตระหนัก และความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อ แก่ผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/10/2022

กำหนดเสร็จ 25/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ  
2) ประชาสัมพันธ์และลงพื้นที่สำรวจ และรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ  
3) จัดตารางเวลา กำหนดการ เพื่อออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เด็กและเยาวชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 21 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กำหนดการการดำเนินโครงการ

  2. จำนวนเด็กที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เด็กและเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและการป้องกันโรคติดต่อ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค งบประมาณ -ค่าป้ายไวนิลขนาด 100 x 300 เซนติเมตร ป้ายละ 750 บาท = 750 บาท -ค่าวิทยากร 600 บ. x 2 ชม. =1,200 บ. -ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 70 คน =1,750 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. x 70 คน = 4,200 บ.
2) กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย งบประมาณ -ค่าบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย800 บาท x 35 คน=28,000บ. รายละเอียดต่อรายซึ่งประกอบด้วย 1. ค่ายาชา 100 บาท
2. ค่าถุงมือ Sterile 20 บาท
3. ค่าเข็ม, Syringe 10 บาท 4. ค่าไหม 150 บาท 5. ค่า Set Sterile 25 บาท
6. ค่า Betadine 30 cc25 บาท 7. ค่าElasitix 25 บาท
8. ค่า Bactigras 15 บาท
9. ค่าGauze2ซอง 20 บาท
10. ค่าใบมีด 10 บาท
11. ค่าหัตถการ 400 บาท -ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ผ้ารองและกระดาษรอง ชุดละ 150 บาท x 35 คน = 5,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 ตุลาคม 2565 ถึง 25 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับบริการตามเป้าหมาย

  2. ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41150.00

กิจกรรมที่ 3 3. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
3. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 ตุลาคม 2565 ถึง 1 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้รับบริการ ไม่เกิดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (active bleeding) ภายหลังการรับบริการ

  2. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการรับบริการ ระดับมาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

ชื่อกิจกรรม
4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 1 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)
2. สามารถลดการเกิดภาวะเลือดออกมากภายหลังการรับบริการ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การอักเสบรุนแรง และการติดเชื้อ
3. ผู้ปกครองและชุมชนเกิดความตระหนักในการการป้องกันโรคติดต่อ


>