กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

กองสวัสดิการสังคม อบต.ร่มไทร

ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน สาเหตุเนื่องจากประชากรในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น บ้านเรือนมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้านค้า สถานประกอบการอื่นๆ มีจำนวนมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ขยะมูลฝอยย่อมมีมากขึ้นไปด้วย จนกลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และแหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ
ชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตขยะของเสียสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชน หรืออาคารบ้านเรือน จะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตรายเมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตร แต่ปัจจุบันปริมาณของขยะที่มีจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส กำลังประสบปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ เนื่องจากมีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร อีกทั้งไม่มีสถานที่กำจัดขยะที่ถูกหลัก ทำให้ประชาชนในพื้นที่ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ ไม่มีการคัดแยกขยะ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะตกค้าง ส่งกลิ่นเหม็น และทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะที่มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โดยการลดอัตราการเกิดขยะ คัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด (Waste Reduction and Separation) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการขยะ เนื่องจากใช้ต้นทุนน้อย และมีประสิทธิภาพสูง กรมควบคุมมลพิษ ได้สรุปแนวทางในการลดปริมาณขยะ คือ หลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่” เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะในพื้นที่ จึงได้โครงการบริหารจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในชุมชน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง และปราศจากโรคภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนในชุมชนบ้านร่วมใจมีการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี

80.00
2 เพือส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน ลดปริมาณขยะ ลดโรคติดต่อในชุมชน

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนในชุมชนบ้านร่วมใจมีการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
1. การเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงพื้นที่สำรวจ
2.จัดตารางเวลา กำหนดการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กำหนดการการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. การดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2. การดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมสำรวจประเมินบ้านเรือนสะอาด ตามเกณฑ์บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
    งบประมาณ -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 100 x 300 เซนติเมตร ป้ายละ 750 บ. = 750 บ.

  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ถอดบทเรียนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อลดปริมาณขยะ ลดโรคติดต่อในชุมชน งบประมาณ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 30 คน x 2 มื้อ = 1,500 บาท -ค่าหารกลางวัน 60 บาท x 30 คน x 1 มื้อ = 1,800 บาท -ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง = 3,600 บาท

  3. กิจกรรมติดตั้งถังขยะสำหรับมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อลดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค -ค่าถังขยะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ขนาด 60 ลิตร ถังละ 700 บาท x 5 ถัง = 3,500 บาท -ค่าถุงแดงสำหรับรวบรวมขยะติดเชื้อ ขนาด 30x40 นิ้ว แพ็คละ 80 บาท x 30 แพ็ค = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2565 ถึง 26 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13550.00

กิจกรรมที่ 3 3. การติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3. การติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนสามารถจัดการกับปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้

2. ประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี และปราศจากโรคภัย


>