กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "สุขภาพดี ชีวีสดใส ด้วยน้ำสมุนไพร ปี 2565"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาหยุดพระ

5

หมู่ที่ 4 , ๕ และ ๗ตำบลบ้านกลางอำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

น้ำสมุนไพร เป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ของพืชเช่น ผลไม้ ธัญพืชนำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาลราคาย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษรสชาติถูกปากรสตามธรรมชาติของสมุนไพรนั้น ๆ ในร่างกายคนเรามีส่วนประกอบของน้ำปริมาณร้อยละ 80 น้ำจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตร่างกายต้องการใช้น้ำไปช่วยระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ปกติ น้ำในร่างกายมีการสูญเสียไปร้อยละประมาณ 2-3 ลิตร ถ้าเราไม่ดื่มน้ำไปชดเชยจะทำให้เกิดการกระหายน้ำ เราจึงต้องดื่มน้ำเข้าไปทดแทนกับที่เสียไป แต่ในบางครั้งความกระหายทำให้คนยังยึดติดในรสชาติซึ่งมักหันไปดื่มน้ำที่ให้รสชาติ เช่น น้ำสมุนไพร ซึ่งมีประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหารและช่วยในการป้องกันโรค โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน ร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ดื่มน้ำสมุนไพร แล้วจิตใจสดชื่นและผ่อนคลายได้ และสมุนไพรบางชนิดช่วยลดอุณภูมิในร่างกายลงได้ น้ำสมุนไพรเป็นได้ทั้งอาหารและคณะค่าทางยาได้บ้าง เปรียบเสมือนยาที่บำรุงร่างกาย ปกป้องรักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุล ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัวและการเจ็บป่วยจากสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และสถานการณ์ของการระบาดของโรคโควิด ๑๙การรู้จักใช้สมุนไพรในพื้นที่มารักษาเบื้องต้น และการนำมาใช้ทำน้ำสมุนไพรเป็นสิ่งที่สามารถทำได้
ทางรพ.สต.บ้านศาลาหยุดพระ จึได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดฝึกอบรมเชิงโครงการสุขภาพดี ชีวีสดใส ด้วยน้ำสมุนไพร ปี ๒๕๖๕ ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องของสมุนไพรน่ารู้และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้เป็นมรดกสืบทอดต่อไปจัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เข้าร่วมโครงการสามารถทำน้ำสมุนไพรไว้ใช้เพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ขยายผลสู่ครอบครัว และชุมชน ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ๓.เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกายโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้าน

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้านและสามารถทำน้ำสมุนไพรไว้ทานได้ ๒.ประชาชนมีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น

4.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 39
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 21

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรพื้นบ้านและการทำน้ำสมุนไพรและสาธิตการทำน้ำสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมให้ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรพื้นบ้านและการทำน้ำสมุนไพรและสาธิตการทำน้ำสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง จำนวน ๑๖,๕๕๐ บาทบาท รายละเอียดดังนี้ ๑. ค่าอาหารกลางวัน  ๖๐ คน x ๕๐ บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน  ๓,๐๐๐ บาท ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๖๐ คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ๓. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม  เป็นเงิน  ๔,๒๐๐ บาท ๔. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๒ คน ๆ ละ  ๔  ชั่วโมง ๆ ละ ๒๐๐  บาท เป็นเงิน  ๑,๖๐๐ บาท ๕. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  เป็นเงิน ๗๕0 บาท
๖. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตสมุนไพรและการทำน้ำสมุนไพร  เป็นเงิน  ๔,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๖,๕๕๐ บาท  ( หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้านและสามารถทำน้ำสมุนไพรไว้ทานได้ ๒.ประชาชนมีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้านและสามารถทำน้ำสมุนไพรไว้ทานได้
๒.ประชาชนมีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น


>