กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

1. นางปิยะวดี ยาวาหาบ
2. นายบาฮารูดีน ยาโงะ
3. นางคัดติญา จิเบ็ญจะ
4. นายธีรพงศ์ นาคสง่า
5. นางอัญจิมา เอ็มดู

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ ม.12 ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

 

38.46

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด โรงเรียนบ้านตูแตหรำมีนักเรียน 101 คน ตั้งแต่มีการระบาดโรคระบาด โควิด 19 เกิดขึ้น มีนักเรียนติดเชื้อจำนวน 18 คน และยังมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสตูล อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้ มีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free settingมีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน onsite ด้วยชุด เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ของโรงเรียนบ้านตูแตหรำจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

38.46 100.00

เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน
ตัวชี้วัดร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 75
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและบุคลากรทางการศึกษา 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัส เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่่า 2019

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัส เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่่า 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมสร้างแกนนำนักเรียนในห้องเรียน ห้องเรียนละ 2 คน โดยการคัดเลือกจากนักเรียนที่มีจิตอาสา

  • นักเรียนแกนนำ ทำหน้าที่ ประสานและรายงานข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงประจำห้อง

  • นักเรียนแกนนำ รายงานผลให้ครูอนามัยโรงเรียนทราบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

(ไม่ขอใช้งบประมาณ)

1.2 กิจกรรมให้ความรู้ นักเรียน,ผู้ปกครอง,บุคลากรทางการศึกษา

  • ประสานหน่วยงานสาธารณสุข 1 ครั้งต่อภาคเรียน มาให้ความรู้การคัดกรองให้กับครู เพื่อให้ครูมีความสามารถในการคัดกรอง

1.3 กิจกรรมคัดกรองผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัส เป้าหมายและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 117 คน

  • ค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 87 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 6,960 บาท

  • ค่าเจลล้างมือ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 2 แกลลอน ๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท

  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท

  • ค่าขาตั้งเจล/แอลกอฮอล์ จำนวน 2 อัน ๆ ละ 1,450 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท

  • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 8 กล่อง ๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าถุงมือ จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าขวดใส่เจล/แอลกอฮอล์แบบหัวกด ขนาด 500 มิลลิิลตร จำนวน 12 อัน ๆละ 20 บาทเป็นเงิน 240 บาท

  • ค่าเสื้อฝน จำนวน 25 ตัวๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15800.00

กิจกรรมที่ 2 การส่งตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา

ชื่อกิจกรรม
การส่งตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมรับ - ส่ง ผู้ติดเชื้อไปตรวจยืนยัน แบบ RT-PCR จากสถานพยาบาล

ไม่ขอใช้งบประมาณ ประสานรถ รับ - ส่ง จาก อบต.กำแพง

2.2 กิจกรรม รับ - ส่ง ผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาล

ไม่ขอใช้งบประมาณ ประสานรถ รับ - ส่ง จาก อบต.กำแพง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ได้รับการส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การกักกันตัวผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
การกักกันตัวผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 กรณีผู้สัมผัสมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย เข้ารับการกักกันตัวใน Local Quarantine ของท้องถิ่น

ไม่ขอใช้งบประมาณในโครงการ ใช้งบ อบต.กำแพง

3.2 กรณีผู้สัมผัสมีจำนวนเกิน 10 ราย ให้จัดทำ Local Quarantine ในโรงเรียน

ไม่ขอใช้งบประมาณในโครงการ ใช้งบ อบต.กำแพง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เข้ารับการกักกันตัวตามสถานที่กักกันตัวในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การกำหนดมาตรการการบังคับในสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
การกำหนดมาตรการการบังคับในสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา

ไม่ขอใช้งบประมาณในโครงการ

4.2กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง

ไม่ขอใช้งบประมาณในโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในโรงเรียนบ้านตูแตหรำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 การประเมินผลโครงการและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผลโครงการและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 จัดทำรูปเล่มรายงานผล

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 3 เล่ม ๆ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการจำนวน  3 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื่องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชนและในเด็กนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา


>