กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

กลุ่มร่วมใจอาสา พัฒนาถิ่นชุมชนไอร์ปีแซ

1.นายฮาฟิซ ตีเตะ
2.นายอาดัม ดือราแม
3.นายนิอัลฟี กะมิง
4.นายนุรดีน ติสมานิ
5.นายบัยฮากี เจ๊ะแน

หมู่ที่ 5 ไอร์ปีแซ ต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนยังขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี(ครัวเรือน)

 

60.00
2 จำนวนครัวเรือนที่ปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนลดลง(ครัวเรือน)

 

60.00

ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง หากบริโภคเป็นประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งจากการสุ่มตรวจผักและผลไม้ประจำปี 2563-2564 ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN พบว่า มีผักและผลไม้มากถึง 58.7 % ที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน ทั้งนี้โดยผักที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุดคือ มะเขือเทศผลเล็ก พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง ผักผลไม้ที่พบการตกค้างรองลงมาได้แก่ กะเพรา (81%) มะระ (62%) ผักบุ้ง (62%) หัวไชเท้า (56%) บร็อกโคลี (50%) ถั่วฝักยาว (44%) แครอท (19%) กระเจี๊ยบเขียว (6%) และหน่อไม้ฝรั่ง (6%) เป็นต้น เมื่อจำแนกตามแหล่งจำหน่ายระหว่างห้างกับตลาดสดทั่วไปนั้น พบว่า ผักและผลไม้จากตลาดทั่วไป พบสารตกค้าง 60.1% ส่วนห้างพบการตกค้างน้อยกว่าเล็กน้อยที่ระดับ 56.7%

จากข้อมูลข้างต้นทำให้ผู้บริโภคผักผลไม้ในพื้นที่ชุมชนบ้านไอร์ปีแซ ยังอยู่ในความเสี่ยงเรื่องสารพิษตกค้างที่จะสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่นิยมซื้อผักผลไม้จากรถเร่ขายกับข้าว และตามตลาดนัดต่างๆ ซึ่งสาเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูก เพราะการหาซื้อตามรถเร่และตลาดนัดเป็นเรื่องที่สะดวกกว่า ดังนั้น จะต้องส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในบริเวณบ้านไว้รับประทานเอง และการปลูกนั้นยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีกด้วย

กลุ่มร่วมใจอาสา พัฒนาถิ่นชุมชนไอร์ปีแซ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือนขึ้น เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมีมากขึ้นจนเกิดวิถีการปลูกที่ไร้สารเคมีสามารถนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน แบ่งปันในชุมชนและทำให้การซื้อผักตามแหล่งต่างๆของแต่ละครัวเรือนลดลง ตลอดจนมีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูก การบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น

60.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริม/เพิ่มการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 8

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจโครงการที่ได้รับการสนับสนุน
  • แบ่งบทบาทหน้าที่และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

งบประมาณ
1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 690 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 8 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 400 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 8 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 400 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประชุมเป็นเงิน 300 บาท
-กระดาษสร้างแบบ จำนวน 5 แผ่น x 5 บาท เป็นเงิน 25 บาท
-กระดาษชาร์ทสี จำนวน 2 แผ่น x 15 บาท เป็นเงิน 30 บาท
-ปากกาเคมีจำนวน 5 ด้าม x 15 บาท เป็นเงิน 75 บาท
-เทปกาว จำนวน 1 ม้วน x 45 บาท เป็นเงิน 45 บาท
-กระดาษโน๊ตกาวจำนวน 3 สี x 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
-แฟ้มเก็บเอกสารจำนาวน 2 แฟ้ม x 25 บาท เป็นเงิน 50 บาท
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2565 ถึง 4 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
• เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจและมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ตลอดจนมีแผนการดำเนินงานโครงการฯ
ผลลัพธ์ (Outcome)
• เกิดกลไกติดตามและการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1790.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักถึงโทษของสารเคมีและกระตุ้นให้มีการปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักถึงโทษของสารเคมีและกระตุ้นให้มีการปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ตระหนักถึงโทษของสารเคมี
  • แนะนำเทคนิคการเลือกซื้อและล้างผักผลไม้
  • อบรมการกระตุ้นให้มีการปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน
  • แนะนำเทคนิคการเพาะกล้า การปลูกและการใช้ปุ๋ย

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เป็นเงิน 3,900 บาท
- เอกสารคู่มือประกอบการอบรม จำนาน 60 เล่ม x 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- กระเป๋าใส่เอกสาร จำนาน 60 ใบ x 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท
- สมุดจดบันทึก จำนาน 60 เล่ม x 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- ปากกาลูกลื่น จำนาน 60 ด้าม x 5 บาทเป็นเงิน 300 บาท
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2565 ถึง 12 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
• ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูก การบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์ (Outcome)
• เกิดการปลูกผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนขึ้น
• เกิดทักษะในการเลือกซื้อปลอดสารเคมีและการล้างผักอย่างถูกวิธี
• เกิดทักษะในการเพาะกล้า การปลูกและการใช้ปุ๋ย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 3 ครัวเรือนลงมือปฏิบัติ/ลงมือปลูกผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
ครัวเรือนลงมือปฏิบัติ/ลงมือปลูกผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มอบปัจจัยต่างๆในการปลูก เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและถาดเพาะกล้า
  • ลงมือปลูกผักปลอดสารเคมีในบริเวณครัวเรือน

งบประมาณ
1. ค่าเมล็ดพันธุ์พืช จำนวน 60 คน x 5 ชนิด x 20 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 60 ถุง x 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าถาดเพาะกล้า จำนวน 60 ถาด x 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
•  ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์ (Outcome)
•  เกิดการบิรฺโภคผักปลอดสารเคมีมากขึ้น
•  ลดการซื้อผักจากแหล่งต่างๆ เช่นรถเร่ ตลาดนัดเป็นต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานดำเนินการติดตามการปลูกผักของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเป็นระยะในระหว่างดำเนินการ อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
•  เกิดเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
ผลลัพธ์ (Outcome)
•  มีข้อมูลผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูก การบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น
2.ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนเพิ่มขึ้น


>