กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอ

1.นางสาวซูไฮดา โมง

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ขณะตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากมาย ทั้งในด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงจะดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด เช่น การเปลี่ยนแปลงช่องคลอด ปากช่องคลอด มดลูก กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะขยายทำให้หน้าท้องลาย โดยปกติระยะหลังคลอด ร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง มดลูกมีขนาดเล็กลง ท้องจะลดลง เริ่มทานอาหารได้ปกติ ผิวพรรณสดใส แต่ในระยะหลังคลอดจะยังคงมีร่องรอยของการผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เช่น ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดน่อง หรือบางรายจะมีอาการหนาวสะท้านเมื่อเจอลมฝน ในอดีตได้ทำการอยู่ไฟหลังคลอดซึ่งเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดทำให้ร่างกายแข็งแรงและส่งผลดีต่อสุขภาพ ปัจจุบันรพ.สต.สากอมีหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 40 คนและหญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 20 คน และมีภาวะแท้งจากการตั้งครรภ์ จำนวน 1 ราย เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ยังขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ดังนั้น รพ.สต.สากอจึงได้เล็งเห็นปัญหาและได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อลดอาการคัดตึงเต้านม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หน้าท้องยุบ น้ำคาวปลาแห้งเร็วขึ้น ช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้มารดาหลังคลอดเข้าถึงการรับบริการดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยได้อย่างทั่วถึง
2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้และเข้าใจถึงกระบวนการรักษาด้านการแพทย์แผนไทย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดทำและเสนอโครงการ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนในพื้นที่ 3.ค้นหา เชิญกลุ่มเป้าหมายและทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในพื้นที่ 4.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร การใช้พืชสมุนไพรส

ชื่อกิจกรรม
1.จัดทำและเสนอโครงการ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนในพื้นที่ 3.ค้นหา เชิญกลุ่มเป้าหมายและทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในพื้นที่ 4.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร การใช้พืชสมุนไพรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 300 × 100 cm × 1 ชุด                เป็นเงิน 900 บาท
    • ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน 300 บาท× 6 ชั่วโมง              เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท × 2 มื้อ × 50 คน            เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท × 50 คน                    เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าคู่มือการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 50 คน × 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับสาธิตการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย 1.หม้อทะนน จำนวน 2 ใบ × 300 บาท                เป็นเงิน 600 บาท 2.เกลือตัวผู้ จำนวน 2 กิโลกรัม × 300 บาท            เป็นเงิน 600 บาท 3.ผ้าดิบ 5 หลา × 70 บาท                เป็นเงิน 350 บาท 4.เชือก จำนวน 1 ม้วน × 50 บาท                  เป็นเงิน 50 บาท 5.เตาไฟฟ้าอเนกประสงค์ จำนวน 1 เครื่อง  × 600 บาท      เป็นเงิน 600 บาท 6.สมุนไพรสำหรับทับหม้อเกลือ     - ไพล จำนวน 1 กิโลกรัม × 50 บาท        เป็นเงิน 50 บาท     - ว่านชักมดลูก 1 กิโลกรัม × 100 บาท        เป็นเงิน 100 บาท     - ว่านนางคำ 1 กิโลกรัม × 100 บาท            เป็นเงิน 100 บาท     - ใบพลับพลึง 1 กิโลกรัม × 200 บาท          เป็นเงิน 100 บาท 7.สมุนไพรสำหรับทำลูกประคบสมุนไพร     - ไพล จำนวน 3 กิโลกรัม × 50 บาท        เป็นเงิน 150 บาท     - ขมิ้นชัน จำนวน 2 กิโลกรัม × 50 บาท            เป็นเงิน 100 บาท     - ผิวมะกรูด จำนวน 2 กิโลกรัม × 50 บาท          เป็นเงิน 100 บาท     - เกลือ จำนวน 2 กิโลกรัม × 50 บาท          เป็นเงิน 100 บาท     - ตะไคร้ จำนวน 1 กิโลกรัม × 100 บาท        เป็นเงิน 100 บาท     - การบูร 5 กรัม × 70 บาท                เป็นเงิน 350 บาท 8.กระโจมอบสมุนไพร จำนวน 1 อัน × 1000 บาท            เป็นเงิน 1000 บาท 9.หม้อต้มน้ำไฟฟ้าสำหรับอบสมุนไพร จำนวน 1 อัน × 500 บาท  เป็นเงิน 500 บาท 10.สมุนไพรสำหรับอบสมุนไพร     - ไพล จำนวน 1 กิโลกรัม × 50 บาท            เป็นเงิน 50 บาท     - ขมิ้นชัน จำนวน 1 กิโลกรัม × 50 บาท            เป็นเงิน 50 บาท     - ตะไคร้ จำนวน 1 กิโลกรัม × 100 บาท        เป็นเงิน 100 บาท     - ผิวมะกรูด จำนวน 1 กิโลกรัม × 50 บาท          เป็นเงิน 50 บาท     - ใบมะกรูด จำนวน 1 กิโลกรัม 50 บาท          เป็นเงิน 50 บาท     - การบูร 5 กรัม × 70 บาท                เป็นเงิน 350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มารดาหลังคลอดเข้าใจและเข้าถึงการรับบริการดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย 2.มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด 3.หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้และเข้าใจถึงกระบวนการรักษาด้านการแพทย์แผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มารดาหลังคลอดเข้าใจและเข้าถึงการรับบริการดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย
2.มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
3.หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้และเข้าใจถึงกระบวนการรักษาด้านการแพทย์แผนไทย


>