กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองควนลัง

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

เทศบาลเมืองควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

50.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย(โรคชิคุนกุนยา)เป็นบางปีกระจายไปทั่วทุกพื้นที่และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุหากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
จากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ข้อมูลระบาดวิทยาตำบลควนลังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕60 – ๒๕64 (1 มกราคม 2564 – 31 ตุลาคม 2564) พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก70, 146, 124, 259 และ42 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร คือ135.36, 361.48, 275.56, 539.58 และ 86.76ตามลำดับ และพบผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งอัตราป่วยดังกล่าวนี้ เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (เกณฑ์ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร) จากการศึกษาข้อมูล พบว่าอัตราการเกิดโรคครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองควนลัง กลุ่มประชากรที่เกิดโรคมากที่สุด คือกลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียน ช่วงเวลาของการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิดโรคเกิดขึ้นทุกๆเดือน และเมื่อมาวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคแล้ว มักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค เช่น มีน้ำขังตามแอ่งและภาชนะต่างๆที่ใช้และไม่ใช้ในครัวเรือน โรงเรียน วัด และสถานที่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายสามารถวางไข่เติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หากยุงลายตัวใดมีเชื้อไข้เลือดออก กัดบุคคลในครัวเรือนเข้าก็ปล่อยเชื้อและเกิดเป็นไข้เลือดออกในเวลาต่อมา วงจรชีวิตนี้จะวนเวียนตลอดไป
ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำโครงการ “โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณพ.ศ. 2565” เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายโดยอาศัยวิธีการทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพและเคมีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

50.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20*2.50 ม. รวม 3 ตร.ม. ๆละ 120.- บาท จำนวน 205 ผืน เป็นเงิน 73,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2021 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถใช้ติดประชาสัมพันธ์ในชุมชนฯ โรงเรียน วัด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
73800.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสารเคมีในการพ่นหมอกควัน ขนาดกระป๋องละ 1 ลิตร ราคา 1,650.- บาท จำนวน 200 กระป๋อง เป็นเงิน 330,000.- บาท
  2. ค่าหน้ากากพ่นหมอกควัน จำนวน 15 อัน ๆละ 2,400.- บาท เป็นเงิน 36,000.- บาท
  3. ค่าไส้กรองหน้ากากพ่นหมอกควัน จำนวน 50 คู่ ๆละ 600.- บาท เป็นเงิน 30,000.- บาท
  4. ค่าสเปรย์พ่นยุง กระป๋องละ 100.- บาท จำนวน 200 กระป๋อง เป็นเงิน 20,000.- บาท
  5. ค่ายาทากันยุง หลอดละ 62.- บาท จำนวน 200 หลอด เป็นเงิน 12,400.- บาท
  6. ค่าทรายอะเบท ขนาด 50 กรัม จำนวน 500 ซอง/ถัง ๆละ 4,000.- บาท จำนวน 30 ถัง เป็นเงิน 120,000.- บาท
  7. ค่าแว่นตาป้องกันสารเคมี อันละ 200.- บาท จำนวน 20 อัน เป็นเงิน 4,000.- บาท
  8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป้นเงิน 1,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้นำวัสดุที่จัดซื้อไปใช้ในการป้องกันโรคให้กับโรงเรียน วัด มัสยิดและชุมชนได้อย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
554200.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมการประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมการประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าของรางวัลกิจกรรมประกวดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 รางวัล เป็นเงิน 12,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนที่ชนะการประกวดได้รับรางวัล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 640,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด และประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายได้
2. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายลดลง
3. ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกฯ


>