กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านควน เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านควน เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงเรียนบ้านควน

1. นายนัสรุนเลาะห์ คงสิเหร่ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควน
2. นายอับดลละห์ อาดำ ครู คศ.2
3. นางสาวธันชนก ภู่สุวรรณ ครูอัตราจ้าง
4. นางสาวจิชม นาปาเลน ครู คศ.2
5. นางจริยาเรืองไชย ครู คศ.3

โรงเรียนบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

 

448.00

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 26 มีนาคม2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 30 กันยายน 2564และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตังแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวยที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้นสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสู.สุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัดเนื่องจากมีการติดเชื้อแบบเป็นกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสตูลอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วยอีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และ โรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการนี้มีนโยบายให้โรงเรียนมีการเปิดเรียนแบบ on-siteโดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิดหรือ Cpvid free setting มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบครบถ้วนมีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on-site ด้วยชุด Antigen Test Kids (ATK) เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

448.00 50.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจทุกราย

ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ

448.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 414
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 07/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากร ในโรงเรียนบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากร ในโรงเรียนบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือ ATK จำนวน (448*1ชุด) = 448 ชุดๆละ 80 บาท เป็นเงิน 35,840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 7 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านควนได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,840.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านควน ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาด ในชุมชน
2. โรงเรียนบ้านควนสามารถเปิดเรียนรูปแบบปกติ (On-site) ได้


>